สถาปัตยกรรมวัดพม่า: ประวัติศาสตร์ คุณค่า และการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระมหาบวรวิทย์ อายุมั่น
พระมหากีรติ ฉัตรแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาวัดพม่าในจังหวัดลำปาง 2) เพื่อวิเคราะห์ ตีความ องค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมวัดพม่า ในจังหวัดลำปาง 3) เพื่อวิเคราะห์การประกอบสร้างทางวัฒนธรรมของวัดพม่าในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกัน กลุ่มประชากร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน (แบบสอบถาม) การวิจัยในเชิงปริมาณ โดยเป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลเชิงพรรณนา และแบบอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า 1). จังหวัดลำปาง เป็นสถานที่ที่มีความเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีวัดที่สร้างโดยชาวพม่า-รามัญ และรูปแบบทางศิลปกรรม ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม การประดิษฐ์ตกแต่ง รวมไปถึงพุทธลักษณะของพระพุทธรูปจะเป็นแบบพม่า ทั้งนี้เนื่องด้วยพม่ามีการติดต่อทางวัฒนธรรมศาสนากับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ การเข้ามามีอิทธิพลของศิลปะพม่านั้นมาจากสาเหตุของการติดต่อกันทางศาสนาทางหนึ่ง จากเหตุผลทางการเมืองทางหนึ่ง คนพม่าเมื่อเข้ามาตั้งหลักฐานอยู่ในเมืองลำปาง เมื่อมีฐานะดีจากการทำป่าไม้ จึงพยายามสร้างศาสนาสถานขึ้น เพื่อเป็นพุทธบูชา อีกทั้งสร้างวัดเพื่ออุทิศให้ผี เจ้าป่าเจ้าเขา รุกขเทวดา ตลอดถึงบรรพบุรุษ 2). องค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมวัดพม่า ในจังหวัดลำปาง มักจะปรากฎในหลายมิติ ทั้งอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์พม่าที่เข้ามาทำกิจการป่าไม้ในจังหวัดลำปาง ทีมีการสร้างวัดโดยผ่านความเชื่อ ได้แก่ สร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา  สร้างเพื่ออุทิศให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ  สร้างเพื่ออุทิศให้เจ้าป่าเจ้าเขา ทั้งการวางผังและภูมิสถาปัตย์วัดของพม่า-รามัญ ในลำปางไม่ได้กำหนดส่วนของพื้นที่พระประธาน (พระพุทธรูป) หรือที่เรียกว่า พุทธาวาส และพื้นที่พระสงฆ์ หรือที่เรียกว่า เขตสังฆาวาส อย่างเด่นชัดเหมือน การวางรูปแบบของวัดในภาคกลาง หรือรูปแบบวัดของล้านนา 3).การสร้างวัดพม่าในจังหวัดลำปางของกลุ่มชาติพันธุ์พม่า-รามัญ ได้อาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วม หรือการประกอบสร้างแบบมีส่วนร่วม ทั้งกลุ่มคนในพื้นที่เดิม กลุ่มชาติตะวันตก และผสานแนวคิดทั้งตะวันตกและตะวันออก รวมถึงกระบวนการทางพระพุทธศาสนาผ่านความเชื่อดั้งเดิมเป็นประการสำคัญ อีกประการหนึ่ง วัดพม่าในจังหวัดลำปาง  ได้ถูกสร้างขึ้นโดยแนวคิดกระบวนการประกอบสร้างทางวัฒนธรรม ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) การประกอบสร้างแบบจารีต 2) การประกอบสร้างแบบวิถีประชา 3) การประกอบสร้างด้วยกฎกติกาภายใต้กฎหมายเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kruaraya, T. (2015). Burmese-Tai Yai Temple in Nakorn Lampang. The Journal of the Center for the Promotion of Arts and Culture, CMU, 17(1), 24-39.

Silapawattanatham. (2021). “Man Krong Mueang” Visiting Burmese Architecture in Nakorn Lampang. Retrieved April 29, 2021, from https://www.silpa-mag.com

Wongpolganan, J. (2009). Buddhist Monasteries with Burmese Art in Lampang Province and Cultural Tourism. Area Based Development Research Journal, 5(3), 23-35.

Cultural tourism. (n.d.). Retrieved April 29, 2021, from https://hmong.in.th/wiki/Cultural_ tourism.

Wannasri, B. (2022). Interview. January, 20.

Pankaew, K. (2015). A Study of Bio-Diversity in Art and Culture of Ethnic Groups from Communities Situated Around the Periphery of the Burmese Art Temples in Muang District of Lampang Province. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 8(2), 98-109.

Department of Religious Affairs, Ministry of Education. (1989). History of Temples Throughout the kingdom No.8. Bangkok: Department of Religious Affairs Press.

Siripan, A. (2021). The President of the Cultural Council, Mueang Lampang District. Interview. January, 20.

Sitthiwang, K. C. (2022). Knowledge: Burmese Building Decoration Pattern in Lanna Thai, Retrieved January 9, 2022, from https://www.finearts.go.th/promotion/view/7836-องค์ความรู้---ลวดลายประดับอาคารพม่าในล้านนาไทย

Ven. Charun Kumarom. (2022). Abbot of Tamao. Interveiw, January 14.

Ven. Pissanupol Suwannaropo (Rubtong). (2022). Abbot of Sasanachotikaram. Interveiw, January 12.