นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรม ในบริบทพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อ 1. พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา 2. พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา และ 3. ประชาสัมพันธ์และประเมินผลนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จำนวน 23 คน และผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 5 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา ในพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 4 แห่ง รวม 27 สถานที่ มีองค์ประกอบทางพระพุทธศาสนา 5 ด้าน คือ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนพิธี และศาสนธรรม แบ่งเป็น 3 เส้นทาง คือ (1) เส้นทางสายพระบรมสารีริกธาตุจักรวาลวิทยา (2) เส้นทางสายมหาสติปัฏฐาน และ (3) เส้นทางสายอริยสัจ 4 ทางแห่งความดับทุกข์ 2. การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา จัดทำสื่อการเรียนรู้เป็น 2 รูปแบบ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และวิดีโอคลิป และจัดทำช่องทางเข้าถึงสื่อการเรียนรู้เป็น 2 ช่องทาง คือ ช่องยูทูป และแอพพลิเคชั่น และ 3. ประชาสัมพันธ์และประเมินผลนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา พบว่าความพึงพอใจในภาพรวม (1) ด้านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านวิดีโอคลิป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ด้านแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ASEAN NOTES. (2014). Historic City of Ayutthaya. Retrieved July 22, 2021, from https://aseannotes.blogspot.com/2014/07/2_5059.html
ASEAN NOTES. (2014). Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns. Retrieved July 22, 2021, from https://aseannotes.blogspot.com/2014/07/3_21.html
Huang, C. D. et al. (2017). Smart Tourism Technologies in Travel Planning: The Role of Exploration and Exploitation. Information & Management, 54(6), 757–770.
Foreign Affairs Division. (2013). World Heritage. Retrieved August 15, 2021, from https://www.m-culture.go.th/international/ewt_news.php?nid=121&filename=index
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). Commentaries: Thai Version. Bangkok: MCU Press.
Owaied, H. H., Farhan, H. A., Al-Hawamdeh, N., & Al-Okialy, N. (2011). A Model for Intelligent Tourism Guide System. Journal of Applied Sciences, 11(2), 342-347.
UNESCO. (2021). World Heritage List. Retrieved August 3, 2021, from https://whc.unesco.org/en/list/&order=country#alphaT
UNESCO. (2021). World Cultural Heritage List. Retrieved August 3, 2021, from https://whc. unesco.org/en/list/574/
UNESCO. (2021). Historic City of Ayutthaya. Retrieved August 3, 2021, from https://whc. unesco.org/en/list/576/
UNESCO. (2021). World Heritage Properties in Thailand. Retrieved August 3, 2021, from http://whc.unesco.org/en/statesparties/th
UNESCO. (2021). World Heritage List. Retrieved August 3, 2021, from http://whc.unesco.org/en/list/
World Cultural Heritage Voices. World Cultural Heritage list. Retrieved August 15, 2021, from http://worldculturalheritagevoices.org/world-cultural-heritage-list/
World Economic Forum. (2019). The Travel & Tourism Competitiveness Report 2019. Retrieved August 22, 2021, from https://reports.weforum.org/travel-and-tourism-competitiveness-report-2019/ranking/