หมู่บ้านช่อสะอาด: รูปแบบและกระบวนการสร้างประชาคมแห่งความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

สุกัญญาณัฐ อบสิณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเสริมสร้างสังคมสุจริตในชุมชนและหมู่บ้าน      2) วิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้าน และ
3) สังเคราะห์รูปแบบและกระบวนการสร้างประชาคมแห่งความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้าน การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการศึกษาเอกสาร การศึกษาเชิงปริมาณที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเชิงสำรวจจาก 373 กลุ่มตัวอย่าง และการวิจัยคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อหาข้อสรุปจากผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างสังคมสุจริตในชุมชนและหมู่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการเสริมสร้างสังคมสุจริตในชุมชนและหมู่บ้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกายสุจริต ( = 3.88) ด้านมโนสุจริต ( =3.85) และด้านวจีสุจริต ( =3.81) 2) กระบวนการเสริมสร้างความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้านเกิดขึ้นจากการเทศนา การดำเนินตามแนวทางหมู่บ้านรักษาศีล 5 การขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) บนพื้นฐานของการมีภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำเนินชีวิต วิถีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การยึดถือหลักบวร ความเป็นพุทธศาสนิกชน 3) รูปแบบและกระบวนการสร้างประชาคมแห่งความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้าน ควรมีการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนโดยการสืบสานและสืบทอด การขัดเกลากล่อมเกลา การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การอบรมสั่งสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประพฤติปฏิบัติ และการฝึกพัฒนา

Article Details

How to Cite
อบสิณ ส. (2022). หมู่บ้านช่อสะอาด: รูปแบบและกระบวนการสร้างประชาคมแห่งความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1229–1242. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/259920
บท
บทความวิจัย

References

Breaking-News. (2022). Corruption Perceptions Index in 2021. Retrieved February 15, 2022, from https://www.prachachat.net/breaking-news/news-852409

Monataraphadung, S. (2012). The Situation of Corruption in Thailand. Valaya Alongkorn Reviews of Science and Technology, 2(1), 1-9.

Phiriyarangsan, S., & Roengtham, S., (2004). Immunity to Corruption: Thai Good Governance on the Crossroads. (Research Report). Bangkok: Chandrakasem Rajabhat University.

Somkane, A. (1992). Local Wisdom and Natural Environment Man. Bangkok: Kurursapa Press.

Suriyamanee, N. (2006). Ethical Virtue Affecting the District Administrative Organization Administration. (Research Report). Nakhon Pathom: Mahidol University, Moral Promotion Center (Public Organization).

Tapmongkol, P. (2012). Good Governance Creation by Good Governance Tools. (Research Report). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.

Transparency International. (2022). Corruption Perception Index (CPI). Retrieved February 3, 2022, from https://www.transparency.org/en/news/cpi-2021-trouble-at-the-top

Wasi, P. (2007). National Strategy for Economic Strength Social and Moral (Society of Peace and Prachadhamma), a Collection of Articles for 20 Years with a Special Keynote Speech by Puey Ungphakorn. Bangkok: Thammasat University.

Yamane, T. (1964). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall.