สัญลักษณ์ในนิทานคัมภีร์มังคลัตถทีปนี

Main Article Content

ปรีดาพร คุ้มสระพรม
สิริวรรณ นันทจันทูล
ประเทือง ทินรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาสัญลักษณ์ในนิทานคัมภีร์มังคลัตถทีปนี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นิทาน จำนวน 246 เรื่อง จากคัมภีร์มังคลัตถทีปนี (ฉบับภาษาไทย) เล่ม 1-5  ของ มหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ตีพิมพ์ เมื่อ 2555 -2556 ซึ่งนิทานมีรูปแบบเริ่มต้นด้วยการปรารภบทนำหรือมูลเหตุที่มาของเรื่องและจบลงด้วย อรรถกถา จากพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่าย ซึ่งผู้วิจัยศึกษาเอกสารทางวิชาการทั้ง ประเภทตำรา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์แล้วบันทึกข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้า ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้ประมวลความรู้เป็นเกณฑ์การวิจัยและแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์เเละคำนวณค่าร้อยละ    


ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะสัญลักษณ์ 2 ประเภท คือ สัญลักษณ์สากลและสัญลักษณ์เฉพาะส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นฝ่ายกุศลเเทนความดีงามและการสั่งสมบุญบารมี 2) การใช้สัญลักษณ์เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามตามคำสอนพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้วิจัยพบ 9 ประเภท ได้แก่ สัญลักษณ์สุภาษิต สัญลักษณ์เหตุการณ์ สัญลักษณ์ชื่อเรื่อง สัญลักษณ์ ตัวละคร สัญลักษณ์บทสนทนา สัญลักษณ์สำนวน   สัญลักษณ์ชื่อตัวละคร สัญลักษณ์ฉากและสัญลักษณ์ความคิด 3) การใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา นามธรรมพบ 2 ประเภท ได้แก่ นามธรรมกุศลและนามธรรมอกุศล  ส่วนรูปธรรมพบการใช้สัญลักษณ์ ที่เป็นมนุษย์  พืช  สัตว์  สิ่งของเครื่องใช้ สถานที่ อวัยวะ  พลังงาน โลหะธาตุ เทวดา อนินทรีย์สาร อมนุษย์ พาหนะ และอัญมณี เพื่อใช้แทนฝ่ายกุศลและอกุศล ตามหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในการบำเพ็ญเพียร ศีล สมาธิ ปัญญาเพื่อหลุดพ้นสู่นิพพาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anuwatkasame, N. (2005). The Use of Animals as Symbols in Thai Short Stories between B.E. 2500- B.E. 2545. (Master’s Thesis). Srinakharinvirot University. Bangkok.

Debyasuwan, B. (2000). Analysis of Thai Literature. Bangkok: Siam.

Kantalurt, J. (1987). An Analysis of Symbols Applied in Naowarat Phongpaiboon’s Poetic Works and Social Reflection, 1973-1983. (Master’s Thesis). Srinakharinvirot University. Phitsanulok.

Kotsupo, P. (2012). Introductory Religious Textbook. Bangkok: Mahamakut Buddhist University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2014). Research and Literature Buddhism. Bangkok: MCU Press.

Mahamakut Buddhist University. (2013). Mangalatthadipani. Bangkok: Mahamakut Buddhist University.

Patthong, S. (2009). “Ruea" in Thai Nirat: Concepts and the Creation of Literary Beauty. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Office of the Royal Society. (2009). Dictionary of Literary. Bangkok: Union Ultra Volet.

Ramangkura na Kotapura, P. (2014). Fish Symbolism in Theravada Buddhism. (Master’s Thesis). Chiangmai University. Chiangmai.

Office of the Royal Society. (2013). The Royal Institute's Dictionary. Bangkok: Office of the Royal Society.

Ratiwanich, K. (2003). Metaphors in Lanna Panacea-Jataka. (Master’s Thesis). Chaingmai University. Chaingmai.

Sajjapun, R. (2010.) Seesanwannasin. Bangkok: Tonaor.

Seinghom, A. (2007). An Analysis of the Use of Symbolism in Nikhom Raiyawa's Literary Work. (Master’s Thesis). Thaksin University. Songkla.

Wellek, W. (1970). Theory of Literature. New York: Harcourt, Brance World, Inc.