การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และกระบวนการของชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์
เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของชุมชนส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการกระบวนการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย และ3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลวิจัยด้วยการสังเกตบริบทชุมชน
การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบ่งผู้สัมภาษณ์เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มองค์กรในชุมชน กลุ่มสมาชิกชุมชน และกลุ่มสมาชิกองค์กรภายนอกชุมชน จำนวน 26 รูป/คน นำเสนอผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


            ผลการศึกษาพบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของชุมชนต่อกระบวนการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทพื้นฐานของชุมชน การพัฒนาชุมชนต้องสร้างการตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่ของตนเอง การพัฒนาชุมชนอย่างสร้างสรรค์ ต้องอาศัยต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนเป็นพื้นฐาน เช่น
อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม บทบาท หน้าที่และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และมาตรการชุมชนสีเขียว มาสนับสนุนเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนสร้างสรรค์
2) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการกระบวนการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย ของสมาชิก
ในชุมชนตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และชุมชนตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี มีรูปแบบการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย 3) แนวทางการพัฒนากระบวนการชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย ต้องมีกระบวนการ ดังนี้ ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชน องค์กรในชุมชน และองค์กรภายนอกชุมชน ดำเนินกิจกรรมโครงการด้วยการมีส่วนร่วมตั้งแต่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมสรุปประเมินผล สร้างกรอบปฏิบัติ การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ ขั้นตอน การวัดประเมินผล การประสานความร่วมมือเป็นลายลักษณ์อักษร ให้เป็นแนวทางมาตรฐานการพัฒนากระบวนการชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์, & เฟื่องฟูลอย เ. (2022). การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และกระบวนการของชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 596–610. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/259307
บท
บทความวิจัย

References

Kosolkan, K. (2015). The promotion of creative community spaces with youth power, 1St, printing by Fullpoint Co,Ltd. : Bangkok.

Poungngam, K. (2010). The community and local self-management, Bopitprinting : Bangkok.

Kittiampon, T. (2010). The creative cities and communities, Thailand International Creative Economy Forum (TICEF).

Teardsatesak, N. (2007). Global Village: The miracle of the village behind the hill, sufficiency and sustainability in the midst of globalization, Pikanasa printing center: Bangkok.

Walaisatiean, P. and team (2000). The developer's processes and techniques for work, National Research Office: Bangkok.

Sanyawiwat, S. (1983). The community development, 3rd, Thaiwattanapanit: Bangkok.

Khunsri, S. (2002). The theories and principles of community development, 4th, The Odeon Store Publishing House: Bangkok.

Chaiphahol, P. (2018).An application of Livelihood Related Local Wisdom in Mobilizing Development Towards Strengthened Community: A Case Study of Kiriwong Communuty, Lansaka District, Nakorn Sri Thammarat Province, National Institute of Development Administration: Bangkok.

Florida, R. (2004), The Rise of the Creative Class and how it transforming work, leisure, community, &everyday life, New York: Basic Book.

Community Development Department. (2010), Driving the Community Planning Process, Community Management Promotion Group: Bangkok.

Hirunto, A. (1983), Encyclopedia of Sociology-Anthropology, Odeonstore: Bangkok.

Office of the National Economic and Social Development Council, (2017), National Economic Development Plan No. 12, Prime Minister's Office: Bangkok.

Wantanasaranee, N. (2004), The study the role and impact of the role of Wat Chaimongkol. Mueang Songkhla District, Songkhla Province, Taksin University: Songkhla.