การพัฒนาการดำเนินชีวิตคู่เพื่อความสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ชูจิต พันธุมจินดา
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สภาพปัญหา สาเหตุ และบริบทชีวิตคู่ในสังคมไทย 2) วิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตคู่เพื่อความสุขอย่างยั่งยืน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตคู่เพื่อความสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุมย่อย ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนักวิชาการด้านจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 11 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของปัญหาชีวิตคู่ในสังคมไทย มีปัญหาวิกฤติอยู่กับขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน ปัญหาความแตกต่างด้านลักษณะนิสัย ทัศนคติและค่านิยม การสื่อสาร หรือสภาพเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านความเป็นเอกภาพในครอบครัว และด้านทัศนคติ 2) รูปแบบการพัฒนาการดำเนินชีวิตคู่โดยพุทธสันติวิธี เป็นการนำหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นแกนหลักมาเป็นหลักปฏิบัติในการใช้ชีวิตคู่ พื้นฐานในการพัฒนาความสัมพันธ์ ได้แก่ (1) สัจจะ ความไว้เนื้อเชื่อใจ
(2) ทมะ การอยู่ร่วมกัน การข่มใจไม่แสดงอาการที่อาจจะทำให้ความสัมพันธ์เลวร้าย (3) ขันติ เผชิญหน้ากับความยากลำบาก ปัญหาและอุปสรรค และ (4) จาคะ คู่ชีวิตต้องรู้จักที่จะยอมเสีย และยอมสละ 3) การดำเนินชีวิตคู่เปรียบได้กับเสาของบ้าน รูปแบบของเสา 4 เสา คือ เสาที่ 1 เข้าใจ จากกระบวนการสร้างความเข้าใจ และเสริมสร้างความจริงใจ เสาที่ 2 ใส่ใจ จากกระบวนการความสัมพันธ์ปัจจัยและตัวแปรต่างๆ ในการใช้ชีวิตคู่ เสาที่ 3 ไว้วางใจ กระบวนการพิสูจน์ชีวิตครอบครัว และ เสาที่ 4 ข่มใจ กระบวนการที่สำคัญเป็นอย่างมากในสถานการณ์ยุคปัจจุบัน ชีวิตคู่ต้องมีฆราสธรรมเป็นรากฐาน ในการพัฒนาให้เป็นครอบครัวเข้มแข็งและ
สันติสุข

Article Details

How to Cite
พันธุมจินดา ช., พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, & วัฒนะประดิษฐ์ ข. (2022). การพัฒนาการดำเนินชีวิตคู่เพื่อความสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1047–1061. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/259234
บท
บทความวิจัย

References

Department of Women's Affairs and Family Development. (2016). Family Institution Development Policy and Strategy 2017-2021. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.

Department of Women's Affairs and Family Development. (2021) The Results of The Annual Family Strength Situation Survey2020. Retrieved December 15, 2021, from https://opendata.nesdc.go.th/dataset/family

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). (2021). Situation of the Thai Elderly 2020. Nakhon Pathom: Printery.

Kanlayapatthanakul, W. et al. (2021). Buddhist Principles and Principles to Strengthen Family Security in Accordance with Buddhism. Journal of MCU Peace Studies, 9(1), 84-94.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.

PhraKlairung Panyavachiro. (2016). Virtues For Lay Peopleto Practices towards Goodness. Academic Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus, 5(2), 263-271.

Phramaha Noppasin Kemadhammo. (2020). An Application of Buddhist Teachings for Living a Household Life as Appeared in Atthakathã Dhammapada in The Present Society. Journal of MCU Nakhondhat, 7(4), 71-82.

Pongket, P. et al. (2020). Model of Desirable Householding Accordance with Buddhist Principles in Ubon Rajthani Province. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 124-136.

Prasanchum, P. & Tongpun, S. (2020). Gharàvàsa-dhamma and Lifestyle of Health. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(4), 84-100.

Punyasavatsut, A. (2020). Determinants of Marriage. Journal of HR intelligence, 15(1), 57-76.

Sintabsan, P. et al. (2018). Buddhist College. Buddhist Ethics: The Concepts and Principles to Strengthen of Strong Family and Social Thailand in the 21st Century. (Research Report). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Rajavaramuni (P. A. Payutto). (1978). Life Constitution: Buddhist Ethics for a Good Life. Retrieved December 15, 2021, from https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/a_constitution_for_living_thai-eng.pdf

Phra Dhammapitaka (P. A. Payutto). (1998). Life's Double Trees. Retrieved December 15, 2021, from https://www watnyanaves.net/th/book-content-index/159

Sopajorn, W. et al. (2020). Opportunities for strengthening of the family during the outbreak of the Covid-19 Virus. MBU Education Journal: Faculty of Education Mahamakut Buddhist University, 8(2), 162-181.

Suwanatat, P. (2021). Discloses Marriage and Divorce Statistics from the COVID-19 Pandemic, No Issue with Not Having a Married Life, However, We Must First Exercise Patience With One Another. Retrieved December 15, 2021, from https://brandinside.asia/married-and-divorce-stat-during-covid-19/

Thairath. (2021). You Havethe Optionof a Solutionfor Your Marital Life, A Happy Love, Orthe Termination of The Divorce Certificate. Retrieved December 15, 2021, from https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2031389