ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนภายในสถานศึกษา

Main Article Content

ภควรรณพร พิศุทธิสุวรรณ
ชลัท ประเทืองรัตนา

บทคัดย่อ

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นกระบวนการยุติธรรมกระแสรอง ซึ่งมีแนวคิดที่มุ่งเน้นการระงับและไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นทางเลือกของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เพื่อให้โอกาสคู่กรณีได้ให้อภัยและให้โอกาสคนที่สำนึกในความผิด บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทางอาชญาวิทยาเกี่ยวกับความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน พ.ศ.2562 2) เพื่อศึกษายุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่ดำเนินงานโดยศูนย์
ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-
ราชวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหารในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการศูนย์ไกล่เกลี่ยผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 10 คน  


            ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีทางอาชญวิทยาที่มีความสอดคล้องกันในด้านการพัฒนาและเยียวยาจิตใจของคู่กรณี 2) ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬา-
ลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธ เนื่องจากผู้ไกล่เกลี่ยส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ที่ผ่านการอบรมการขึ้นทะเบียน จึงมุ่งเน้นไปที่พุทธสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา ศูนย์ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาตรา 68 ถึงมาตรา 70 ยังมีจำนวนผู้ใช้บริการไม่มากเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ผนวกกับทำเลที่ตั้งภายในสถานศึกษาและระดับการรับรู้ของประชาชนถึงบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ อีกทั้งยังเป็นศูนย์ฯ ต้นแบบที่ได้รับการประเมินตามมาตรฐานของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และโดดเด่นในการเป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เน้นความสงบจากภายในจิตใจ ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มจร. ควรทำงานเชิงรุก และมีระบบติดตามผลหลังการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

Article Details

How to Cite
พิศุทธิสุวรรณ ภ., & ประเทืองรัตนา ช. (2022). ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนภายในสถานศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 580–595. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/258743
บท
บทความวิจัย

References

Buranasingha, T. (2021). Practical Guideline of People Dispute Resolution Center Follow to

the Dispute Resolution Act B.E. 2562. Bangkok: Reprint Company Limited.

EarumNoey, C. (2005). Restorative justice : paradigm shift in the Thai criminal justice system.

Bangkok: Foundation of Development of Justice Process.

Gulprasertrat, J. (2019). Dispute Resolution Act B.E. 2562. Retrieved November 11, 2022, from

https://www.thaipost.net/main/detail/49023.

Kittiyaruk , K. (1998). Justice Process on the Path of Change. Bangkok : Winyuchon

Publication House.

Thummamahaso.H.,(2011). Buddhist Peaceful Means: Integrating Conflict Management

Principles and Tools. Bangkok: twenty first Century.

Ninthongkham, P. (2003). Civil and Commercial Code, Books 1-6, Criminal : Unfair Contract

Terms Compensation and Compensation and Expenses to Defendants in Criminal

Cases Act, complete version, amended to date. Bangkok: Athataya Millennium Co.,

Ltd.

Office of Judicial and Legal Affairs. (2020). Project to promote cooperation in justice of

agencies in the judicial process for the fiscal year 2020. Retrieved October,17,2022,

from https://jla.coj.go.th/th/content/category/articles/id/8/cid/9726.

Rights and Liberties Protection Department. (2021). Rights and Liberties Protection

Department Newsletters (March, 2021). Bangkok : Rights and Liberties Protection

Department, Ministry of Justice.

Sonthisamphan, K. (2014). Thailand Development Research Institute Report (TDRI). (Vol.105).

Bangkok : Thailand Development Research Institute.

Sonthonthanarom, S. (2017). Role of Damrongtham Center in Community Dispute

Resolution: A Study of Damrongtham Center, Maha Sarakham Province. Journal of

Politics and Governance. 2019 Apr 29;9(1):154-74.

Suttemee, D. (1992). The Role of the Village Committee in Dispute Resolution Project ; A

case studies: The Conciliation at the village level, Suphan Buri province. (Master’s

Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Worakitsophonpisarn, W.(2009). Legal issues related to the mediation of civil disputes

before presenting the case to the court. (Master’s Thesis). Sripatum University.

Chonburi.