การพัฒนาตัวชีวัดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

กิตติศักดิ์ สมพล
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์
อัจฉรา นิยมาภา
สุพจน์ เกิดสุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ
3) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลตัวชี้วัดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น คำนวณตัวอย่างตามสัดส่วนกระจายทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามที่ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติสำหรับการวิจัยนี้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน 11 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านที่ 1 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม มี 3 ตัวชี้วัด ด้านที่ 2 ด้านความเสมอภาคและเท่าเทียม มี 3 ตัวชี้วัด ด้านที่ 3 ด้านความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล มี 3 ตัวชี้วัด และด้านที่ 4 ด้านความมีจิตบริการ มี 2 ตัวชี้วัด และ 3) ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดล พบว่า ตัวชี้วัดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืน คือ ค่าไคสแควร์ = 24.30, df = 22, p-value 0.33; Relative x2 = 1.104; GFI = .99; AGFI = .96; RMR =.02; SRMR = .01; RMSEA = .02 มีน้ำหนักองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
สมพล ก. ., วิจิตรพัชราภรณ์ ว. ., นิยมาภา อ. ., & เกิดสุวรรณ์ ส. . (2023). การพัฒนาตัวชีวัดภาวะผู้นำแบบนิติธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1376–1388. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/258621
บท
บทความวิจัย

References

Chaisen, P. (2020). The Rule of Law with Power Administration in Government Office. Bangkok: Office of the Constitutional Court.

Insawang, J. (2021). The Rule of Law: Buddhist Jurisprudence (Rule of Law with Dhrama in Religious). Bangkok: Office of the Constitutional Court.

Jongjakapun, K. (2013). The Rule of Law Meaning, Main Point and Result of Contravention Rule of Law. (2nd ed.). Bangkok: Charoenrut Printing.

Manoprom, K., Buranacha, S., Umnueyra, S., & Gunma, N. (2020). The Model of Authentic Leadership Development for Administrators in Basic Education Schools. Journal of Education Burapha University, 31(1), 152-168.

Stephen, L. (2018). The Rule of Law with Human Rights and Sustainable Development. TIJ Journal: The Rule of Law with Sustainable Development, 1(1), 109-114.

Thailand Institute of Justice. (2017). The Rule of Law and Sustainable Development of His Majesty the King Rama IX. TIJ Quarterly, 1(005), 4-7.

The Secretariat of The Senate. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand (B.E. 2560). Bangkok: The Secretariat of The Senate Printing.

Wiratchai, N. (1999). Lisrel Model: Statistical Analysis for Research. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

WJP. (2020). The World Justice Project Rule of Law Index® 2020. Washington DC: World Justice Project.