การบูรณาการพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ

Main Article Content

พระราชสุตาภรณ์
พระมหาอุดร อุตฺตโร
พระครูสิริภูรินิทัศน์
ปฏิธรรม สำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ และ 3) เพื่อบูรณาการพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการวิจัยรูปแบบ Action Research เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวน 17 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ จัดเวทีสัมมนา และสนทนากลุ่มย่อย แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) กระบวนการเรียนการสอนวิถีพุทธ (2) กระบวนการเรียนรู้วิถีพุทธ (3) เศรษฐศาสตร์วิถีพุทธ (4) การฝึกสติภาวนาวิถีพุทธ (5) วัฒนธรรม/มารยาทชาวพุทธ (6) นวัตกรรมเด่นประจำพื้นที่ และ (7) นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์วิถีพุทธ มาประกอบในการทำกิจกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้วิถีพุทธ 4 กิจกรรม คือ (1) กิจกรรมนวัตกรรมการเรียนรู้ (2) กิจกรรมนวัตกรรมวิถีพุทธพอเพียง (3) กิจกรรมนวัตกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ (4) กิจกรรมเดินด้วยเท้า ก้าวไปในบุญ 2) นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หลักไตรสิกขาควบคู่กับการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทัศนคติ ทักษะ จึงนำไปสู่การอยู่ร่วมกันด้วยสันติ ทั้งเป็นเครื่องมือขัดเกลาอุปนิสัย จิตใจ ให้เป็นผู้ กตัญญูรู้คุณ และมีเมตตาธรรม 3) การบูรณาการพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการบูรณาการระหว่างนวัตกรรมการเรียนรู้ 7 ด้าน กับกิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 4 กิจกรรม และหลักไตรสิกขา คือ (1) ขั้นศีล (2) ขั้นสมาธิ (3) ขั้นปัญญา เพื่อพัฒนาจิตใจนักเรียนให้มีความใฝ่รู้ และปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามแก่นักเรียนผ่านทางกิจกรรม ให้นักเรียนเกิดการพัฒนาคุณลุกษณะ “ดี เก่ง กล้า มีความสุข”

Article Details

How to Cite
พระราชสุตาภรณ์, อุตฺตโร พ., พระครูสิริภูรินิทัศน์, & สำเนียง ป. (2022). การบูรณาการพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 986–997. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/258423
บท
บทความวิจัย

References

Bhiromrat, K. (2010). Students Conduct of Rajabhat Universities in Bangkok on the Way of Self-Sufficient Economy. (Research Report). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Guðjónsdóttir, H. et al. (2021). Teaching and Teacher Education. An International Journal of Research and Studies, 13(4), 451-458.

Kanchanaburi Province. (2020). Guidelines for Driving Innovation Areas in Education. Retrieved April 8, 2022, from https://shorturl.asia/DjMUh

Ministry of Education. (2004). Naw thang kan Dam Neon Ngan Rong Rian Withiphut (The Process of Buddhist Oriented Schools). Bangkok: Printed by Office Development the Innovation of Educational Management.

Ngamprakhon, S., Sangnont, K., & Phramaha Sombat Tanapanyo. (2018). Learning Management Innovation, Theory to Practice. Mahachula Academic Journal, 5 (special issue), 78-82.

Office of the National Education Commission and Office of the Prime Minister, Thailand. (1999). National Education Act of B.E.2542 (1999). Bangkok: Office of the National Education Commission.

Phrakhrubaitikasu Winsuwichano. (2018). The Development of Buddhist Way School Management in Samutprakarn Province. Journal of MCU Social Science Review, 7(1), 84-98.

Phra Narongdech Atimutto (Dechadilok), Siriwaan, I., & Ruangsanka, R. (2018). A Model of Learning Center Development in Buddhist Oriented School. Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU, 5(3), 161-176.

Prasertsin, U., Jiotrakul, T., & Thongklomsee, J. (2017). A Studying Guidelines of the Educational Innovation Management Used for Improving Teacher’s Teaching and Research. The Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University, 10(2), 78-89.

Reungsil, S. (2005). A Studying Status and Problem on Performance of Buddhist School of Khond Kaen Educational Service Area Office 4: A Case Study of Thairat Wittaya 34 School. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.

Thongian, B. (2020). Behavior for Application of Tri -Sikha in Living of Student in Mahamakut Buddhist University Sritham-Masokaraj Campus. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(6), 78-89.