การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการอ่าน 2 (Reading II) จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ชุดกิจกรรมฝึกการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 8 บทเรียน และแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติ SPSS ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 2) นักศึกษา
มีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ในการจัดกิจกรรมทำให้เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.370 (S.D. = 0.672) ดังนั้น ผู้สอนควรมีการปรับปรุงรูปแบบการสอนและพัฒนากิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ในทักษะอื่นที่จำเป็น เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการพูด เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษและสามารถนำไปปรับใช้กับสถานการณ์จริงได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Hannafin, M. J., & Land, S. M. (1997). The foundations and assumptions of technology-enhanced student-centered learning environments. Instructional science, 25(3), 167-202.
ing .co.th/it-solutions/human-resources-hr/14-it-solutions/human-resources-hr/85-constructivist-theory.html (in Thai)
Kumduang, P. (2019). Teaching English Grammar Using Constructivism Theory for First Year Students, Faculty of Engineering and Industrial Technology, Silpakorn University. Rajapark Journal, 13 (31), 179-194. (in Thai)
Maneeratan, A. and Chaijaroen, S. (2016) Designing the Framework of Constructivist Web-Based Learning Environment to Enhance the Analytical Thinking. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 27(1), 1-8. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai)
Pimthaisong, J., & Chano, J. (2019). Developing of Learning English Reading Activity for Comprehensive Based on Contructivism Theory of Middle School Level 3 (Doctoral dissertation, Mahasarakham University). (in Thai)
Saiduang, P. (2016). Student Development in Using English for Cultural Communication, a Case Study of English Major Students at Ubon Ratchathani RajaBhat University. MBU Education Journal: Faculty of Education Mahamakut Buddhist University, 7(2), 215-226. (in Thai)
Somabutr. A. (n.d.). Constructivist Theory. Retrieved December 20, 2019, from http://www. finding.co.th/it-solutions/human-resources-hr/14-it-solutions/human-resources-hr/85-constructivist-theory.html
Sudkaew, T. (2011). Development of Knowledge Construction Instructional Model using Constructivist Theory via Online Social Network in Local Wisdom Subject Master Thesis M.Ed (Educational Techology) Bangkok Graduate school, Srinakharinwirot University. (in Thai)
Tam, M. (2000). Constructivism, instructional design, and technology: Implications for transforming distance learning. Journal of Educational Technology & Society, 3(2), 50-60.