การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคม เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

พระมหาวริทธิ์ธร จันทร์ชื่น
เรขา อรัญวงศ์
นิติกร อ่อนโยน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเกี่ยวกับองค์ประกอบของจิตสาธารณะ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคม และ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเกี่ยวกับองค์ประกอบของจิตสาธารณะ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคม เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะ และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ องค์ประกอบของจิตสาธารณะ รูปแบบกาจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะ แบบวัดสถานการณ์จิตสาธารณะ 4 ด้าน ตัวอย่างแผนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย แจกแจงความถี่ของข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการเคารพสิทธิของผู้อื่น ด้านการถือเป็นหน้าที่ ด้านการดูแลรักษา และด้านการบำเพ็ญประโยชน์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยค่าดัชนีความกลมกลืนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกตัว (Chi-square=11.854 df=19 sig=0.892 CMIN/df.=0.624 n=320 CFI=1.000 NFI=0.996 GFI=0.993 AGFI=0.979 IFI=1.002 RMSEA=0.000 RMR0.004) 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคม 8 ขั้นตอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก 3) ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการรับใช้สังคม นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีจิตสาธารณะจากการวัดซ้ำ 3 ครั้ง คือวัดก่อนเรียน-ระหว่างเรียน-และหลังเรียน มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bonwell, C. C., & Eilson, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. Washington DC: ERICE Clearinghouse on Higher Education. George Washington University.

Chareonwongsak, K. (2013). Strengthening guidelines of Enhance the Public Mind Management for Thai Society. Rattasapasarn, 61(1), 77-87.

Chuayprom, S., & Kaewurai, W. (2016). A Development of Activities Model to Enhance Public Mind Through Service Learning for Elementary Students. Lampang Rajabhat University Journal, 5(2), 133-146.

Joyce, B., & Weil. M. (1972). Informatiton Processing Model of Teaching. New Jersey: Prentice-Hall.

Kampan, A. (2016). A Study of Factor Analysis of Public Consciousness of University Students in Bangkok Area. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Khammani, T. (2001). Learning Process: Meaning, Development Guidelines and Grievances. Bangkok: Chula Press.

Khammani, T. (2017). Teaching style: a variety of options. (9th ed.). Bangkok: Chula Press.

Lueanyod, S. (2010). Development of A Scale of Desirable Characteristics in Public Consciousness for Junior High School Students. (Master’s Thesis). Phetchabun Rajabhat University. Phetchabun.

Muttiko, M. (1998). Social Consciousness of Graduate Students Mahidol University. Bangkok: Charoendee Kanpim Company Limited.

Office of the Education Council of the Ministry of Education and Suan Sunandha Rajabhat University. (2007). Environmental Moral Problems Student / Administrator / Teacher / Parent. Bangkok: The Ministry of Education.

Pardun-Johannsenm, K. C. (2004). Socail issue Drama and Its Impact on the Social Consciousness of Preadolescent School Children. (Doctoral Dissertation). University of St. Thomas. Houston.

Suthasinobon, K. (2016). Kan Chat Kan Rian Kan Son Baep Phuttha Phuea Phatthana Khunnatham Chariyatham Samrap Nakrian / BIM: Buddhist Instruction Model. (2nd ed.). Bangkok: Commercial World Media Co., Ltd.

Satararuji, K. (2008). The Lessons Learned from the Youths' Group Communication Process Regarding Public Consciousness. (1st ed.). Bangkok: Dhurakit Pundit University.

The Ministry of Education. (2008). the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Ltd. (ACFT).

Wongnaya, S., & Chaowakeeratiphong, T. (2015). Strategy Movement for the Second Decade Educational Revolution in Basic Schools Under Kamphaeng Phet and Tak Primary Educational Service Area. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 21(3), 107-123.