อัตลักษณ์ความเชื่อของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN) จากทัศนะของสื่อมวลชนไทย

Main Article Content

อุบลวรรณ สวนมาลี
สิริวรรณ นันทจันทูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ด้านความเชื่อของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านสื่อมวลชนไทย และ 2) เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการนำเสนออัตลักษณ์ด้านความเชื่อของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านสื่อมวลชนไทย โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องความเชื่อและกลวิธีทางภาษาในข้อความในการวิเคราะห์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ทั้งนี้ใช้ตัวบทจากสื่อมวลชนไทย   4 ประเภท ได้แก่ รายการโทรทัศน์ หนังสือเล่ม นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ และหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบบง่าย และแบบมีระบบ ผู้วิจัยแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดด้วยการพรรณนาวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์ด้านความเชื่อของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่นำเสนอในสื่อมวลชนไทย แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา สังคมและประเพณี โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์ และ 2) กลวิธีทางภาษาในการนำเสนออัตลักษณ์ด้านความเชื่อของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านสื่อมวลชนไทย พบ 3 กลวิธีหลัก ได้แก่ กลวิธีทางศัพท์ กลวิธีการขยายความ และกลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม อัตลักษณ์ด้านความเชื่อของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่นำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษาต่างๆในสื่อมวลชนไทยจึงมีความหลากหลาย ทำให้ผู้รับสารตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายซึ่งจะช่วยลดอคติต่อประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ทำให้เกิดการยอมรับและสร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

Article Details

How to Cite
สวนมาลี อ., & นันทจันทูล ส. . (2023). อัตลักษณ์ความเชื่อของ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN) จากทัศนะของสื่อมวลชนไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 978–992. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/257904
บท
บทความวิจัย

References

Akira, A. (2012). We are ASEAN: Cambodia. Bangkok: Amarin Comics.

Angkapanichkit, J. (2014). Discourse Analysis. Bangkok: Thammasat University.

Burusphat, K. (2006). Mingalaba, Hello Myanmar. Bangkok: Matichon.

Chanadisai, T., & Tochayangkun, P. (2013). ASEAN: Do-Don’t. (2nd ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Chantrawatanakul, S.D. (2010). Mass Media and Society. (4th ed.). Pathum Thani: Bangkok University.

Chanvitan, P. (2011, June 3-9). Belief Tradition (Vietnam). Matichon Weekly, pp. 72-73.

Charoenying, P. (2001, October 16). Stalking Nat, Myanmar. Matichon, p. 12.

Hornby, A.S., & Wehmeier, S. (2000). Oxford Advanced Learner’s Dictionary of Current English. (6th ed.). Oxford: Oxford University.

Janda, R. (2009). Jam Pa Khao Lao Hom (North Laos). Bangkok: Milky Way.

Kamdee, D. (2002). Theology. (2nd ed.). Bangkok: Kasetsart University.

Kamto, P. (2012). We are ASEAN: Philippines. Bangkok: Amarin Comics.

Kasempholkoon, A., & Keawgunha, S. (2020). Formats and Functions of Belief in the Coronavirus Disease Pandemic: Multicultural Studies in Thai Society. Academic Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University, 28(3), 260-286.

La-or, S. (2003). Watch Khmer, Patrol Cambodia. Bangkok: Nation Books.

Nimmanhaemin, P. et al. (2012). Norms in Thai Language, Volume 4: Thai Language Use Culture. (2nd ed.). Bangkok: Thai Language Institute, Bureau of Academic Affairs and Educational Standards.

Pannapat. (2012). We are ASEAN: Malaysia. Bangkok: Amarin Comics.

Panupong, V. et al. (2012). Norms in Thai Language, Volume 3: Kind of Words; Phrase; Sentence and Discourse. (2nd ed.). Bangkok: Thai Language Institute, Bureau of Academic Affairs and Educational Standards.

Pitsuwan, S. (2012). ASEAN: Know, Definitely Have an Advantage. (4th ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology (Public Organization). (2004). Identity Discourse. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology (Public Organization).

Sakunasingha, L. (2013). Beliefs and Traditions: Birth, Marriage, Death. Bangkok: Proud Press (2002).

Vietnamese Celebrate Christmas at Ho Chi Minh City. (1977, December 27). Thairath, p. 2.

Wongratakamon, S. (2011). Xin Chao Saigon: Sa-Bai-Dee at Pakse. Bangkok: Praew Publishing.

Yuan Dispels Lunar Eclipse Like Khmer. (1995, October 9). Siamrath, p. 2.

Zoom. (1993, July 25). Wai Shwedagon. Thairath, p. 5.