ความสุขในพุทธปรัชญากับปรัชญากระบวนทรรศน์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

Main Article Content

จักรพงษ์ ทิพสูงเนิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) แนวคิดเกี่ยวกับความสุขในปรัชญากระบวนทรรศน์ 2) วิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน ความสุขในพระพุทธศาสนา และ 3) ความสอดคล้องระหว่างแนวคิดความสุขในพระพุทธศาสนากับความสุขในปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยทางปรัชญาโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการตีความเชิงปรัชญาตามปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุค


ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดเกี่ยวกับความสุขตามปรัชญากระบวนทรรศน์ตีความได้ ดังนี้ (1) กระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ ให้ความสำคัญกับความสุขในระดับร่างกาย (2) กระบวนทรรศน์ยุคโบราณเชื่อในความสุขระดับร่างกาย และความสุขระดับจิตใจซึ่งเป็นความสุขทางปัญญา (3) กระบวนทรรศน์ยุคกลาง ชื่นชอบความสุขระดับโลกุตรสุขมากกว่าโลกียสุข (4) กระบวนทรรศน์นวยุคไม่ยอมรับโลกุตรสุข แต่ยอมรับโลกียสุขที่เป็นความสุขทางกายทั้งหมด และ (5) กระบวนทรรศน์หลังนวยุคยอมรับทั้งโลกียสุขและโลกุตรสุข ว่าความสุขระดับโลกเป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำและความสุขสูงสุดในทางศาสนา เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสงบสุขและสันติภาพแก่โลก 2) พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องความสุขเป็นสภาวะแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ซึ่งเป็นบรมสุข คือ ความสุขระดับพระนิพพานที่เป็นสิ่งสูงสุด เพราะความสุขทางพระพุทธศาสนาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ความสุขในระดับโลกียสุข และความสุขในระดับ  โลกุตรสุข 3) ความสอดคล้องระหว่างแนวคิดความสุขในพระพุทธศาสนากับปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง พบว่า ปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลางเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและให้มีความสุข ไม่เน้นให้มีการยึดมั่นถือมั่น และเน้นการส่งเสริมให้พัฒนาชีวิตให้มีความสุขแท้ตามสัญชาตญาณปัญญา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดความสุขในพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับโครงการอบรมศีลธรรมและคุณธรรมเชิงพุทธสำหรับบุคคลทั่วไปโดยเป็นเหตุผลและแนวทางในการพัฒนาแนวคิดความสุขของแต่ละบุคคล


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adiwatthanasit, C. (2004). Religion, Life and Society. Bangkok: Mental Health Press.

Attaphat, C. (2012). Epistemology (Theory of Knowledge). Nakhon Pathom: Sala Phimphakan.

Beauchamp, T. (1982). Philosophical Ethics: An Introduction to Moral Philosophy. New York: McGraw-Hill.

Bunchua, K. (1985). Ethics for Beginner. Bangkok: Thai Wattanapanich Printing.

______. (2003). Philosophy in Simple Language. Bangkok: St. John University.

Inthasara, W. (2006). Buddhist Ethics. Bangkok: Sand Printing.

MahachulalongKornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Padhamasiri De Silva, P. (1995). Buddhist Ethics. In P. Singer (Ed.), A Companion to Ethics (p. 62). London: Blackwell.

Phra Brahmagunabhorn, (P.A. Payutto). (2008). Thinking Method According to Buddhist Principles. Bangkok: Siam Publishing.

______. (2009). Buddhadhamma. Bangkok: Sahathamik Printing.

Phramaha Suthit Apakaro (Ob-on) et. al. (2013). Happy to Gain Dhamma. Nonthaburi: Design Delight.

Ploychum, S. (1995). General Philosophy. Bangkok: Mahamakut Buddhist University Printing.

Punyanupap, S. (1996). Tipitaka People Version. (16th ed.). Bangkok: Mahamakut Buddhist University Printing.

Thankaew, B. (2002). Theravada Buddhist Philosophy. Bangkok: Odeon Store.