สโลว์ไลฟ์: ความหมายและวิถีชีวิตในชุมชนพันพรรณ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรรณิศา วงษ์สิงแก้ว
ธีรวรรณ ธีระพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการให้ความหมายของชีวิต ความหมายของสโลว์ไลฟ์ และวิถีชีวิตประจำวันของผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนพันพรรณ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนพันพรรณจำนวน 5 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาตามระเบียบวิธีวิจัยของปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความร่วมกับประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีความหมายของชีวิต และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลและอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย


ผลการวิจัยแบ่งออกเป็นสามประเด็นหลัก คือ ประเด็นหลักที่หนึ่ง ความหมายของชีวิต คือ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้ให้ความหมายของประสบการณ์ และค้นพบความหมายจากการกระทำ แบ่งเป็นสามประการ คือ
1) คุณค่าต่อตนเอง 2) คุณค่าจากการมีอิสรภาพในการกำหนดชีวิตตนเอง 3) คุณค่าในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ประเด็นหลักที่สอง สโลว์ไลฟ์ คือ การที่ผู้ให้ข้อมูลหลักสามารถกำหนดจังหวะในการใช้ชีวิตสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของตนเอง ประกอบด้วยสองประเด็นรอง คือ 1) สโลว์ไลฟ์เป็นชีวิตที่อิสระไปตามจังหวะภายในของตนเอง 2) สโลว์ไลฟ์นั้นบางทีก็ช้าบางทีก็เร็ว และประเด็นหลักที่สาม วิถีชีวิต คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตทั้งพฤติกรรม ความคิดและทัศนคติที่ส่งผลในการเลือกวิธีการดำเนินชีวิตของตนเอง ประกอบด้วย
1) วิถีชีวิตประจำวันที่เคลื่อนไหวไปตามจังหวะของฤดูกาล 2) วิถีชีวิตที่มุ่งพัฒนาประสบการณ์ภายใน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Babauta, L. (2009). Do Less Get More [The Power of Less]. (Phinthuwachiraphon, Translator). Bangkok: We Learn.

Baumeister, R. F., & Voh, K. D. (2002). The Pursuit of Meaningfulness. London: Oxford University Press.

Chaisaard, W. (2015). What Is "Slow life" Dhrama? Retrieved March 7, 2020, from https://posttoday.com/politic/report/371169

Chaiyo, W. (2001). Meaning of Life in Logotherapy. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Hemmard, W. (2016). The Way of Life and Definition of the Female Bank Clerks in the Modern Economy. (Master’s Thesis). Songkla University. Songkla.

Honoré, C. (2016). In Praise of Slowness [In Praise of Slowness: How a Worldwide Movement Is Challenging the Cult of Speed]. (Phomsao, Translator). Bangkok: Open Society.

Rakyutithum, A. (2011). Mainstream Alternative Development. Journal of Sociology and Anthropology, 30(2), 13-43.

Rivituso, J. (2014). Cyberbullying Victimization among College Student: An Interpretive Phenomenological Analysis. Journal of Information Systems Education, 25(1), 71-75.

Tanphet, T. (2018). The Seed Collector Alive Trip Group Residents Travel to Experiment Living in Pun Pun Garden Learn How to Be Self-Reliant and Make Earth House. Retrieved March 5, 2020, from https://readthecloud.co/alive-trip-seed-collector/

Tuikhumphir, A. (2010). Logotherapy. Bangkok: Faculty of Psychology Chulalongkorn University.