การต่อรองและการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง: มุมมองทางสังคมวิทยา

Main Article Content

สายชล ปัญญชิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการต่อรองความหมายของการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง 2) เพื่อศึกษาการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้แทนชุมชนเมืองกับองค์กรภาครัฐในการพัฒนาที่อยู่อาศัย
โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือการวิจัยที่สำคัญประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อย ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาจำนวน 30 คน ทั้งนี้พื้นที่การศึกษาวิจัยคือชุมชนคลองลัดภาชี แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สำหรับมุมมองทางทฤษฎีของการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แนวคิดสังคมวิทยาที่อยู่อาศัย และแนวคิดการมีส่วนร่วมเป็นกรอบความคิดที่แสดงให้เห็นบทบาทการต่อรองของผู้แทนชุมชนเมือง ตลอดจนแนวทางการมีส่วนร่วมของโครงสร้างความสัมพันธ์ในการจัดการที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง


          สำหรับผลการศึกษาพบว่า ประการที่หนึ่ง การสร้างที่อยู่อาศัยให้สมาชิกในชุมชนสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินอย่างถาวรได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและชุมชนโดยได้มีส่วนเพิ่มความมั่นคงทางจิตใจและสังคมที่มากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาให้ชุมชนเป็นกลุ่มทางสังคมที่เข้มแข็งได้นำมาสู่การต่อรองด้านสิทธิในการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ภาคการเมืองและภาครัฐได้ให้ความสำคัญที่จะเข้ามาสนับสนุนมากขึ้น ประการที่สอง การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนกับการจัดการที่อยู่อาศัยได้ดำเนินการผ่านสองแนวทางที่สำคัญคือ 1) การเปิดพื้นที่ให้สมาชิกชุมชนได้เข้ามากำหนดปัญหา วิธีการจัดการแก้ไข และเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน อย่างไรก็ตามในมิติของความยืดหยุ่นในการจัดการรูปแบบที่อยู่อาศัยจำเป็นที่จะต้องยึดกรอบโครงสร้างความคิดของหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนผ่านที่อยู่อาศัยไปสู่การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินอย่างถาวรร่วมด้วย และ 2) การสร้างเครือข่ายภายนอกเพื่อผลักดันให้ชุมชนสามารถจัดการที่อยู่อาศัยให้มีคุณภาพดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สายชล ปัญญชิต, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สายชล ปัญญชิต
อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

Agyeman, J., & Evans, T. (2003). Toward Just Sustainability in Urban Communities: Building Equity Rights with Sustainable Solutions. The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 590(1), 35-53.

Aksornnum, Y. (2015). House, Shelter, Home: Homelessness and Dynamic Meanings of Home among the Homeless. (Master’s Thesis). Thammasat University. Pathumthani.

Boonyabancha, S., & Parmkaew, P. (2019). BAAN MAN KONG: "A housing program which go beyond houses". Journal of Social Sciences and Humanities, 45(1), 1-17.

Chaowatthanakun, K. (2014). Social inequality of the housing estate community in the Northern Bangkok. Journal of Social Sciences and Humanities, 40(2), 67-80.

Foley, D. L. (1980). The sociology of housing. California: Institute of Urban and Regional Development, University of California, Berkeley.

Fox, K. (2020). Sociology Applied to Planning: Robert K. Merton and the Columbia-Lavanburg Housing Study. Journal of Planning History, 19(4), 281-313.

Povatong, B. (2019). Sixty Years of Housing Development Guidelines in Thailand According to the National Economic and Social Development Plans, B.E. 2504 – 2564. Academic Journal of Architecture, 68(1), 133-150.

Ruonavaara, H. (2017). Theory of Housing, From Housing, About Housing. Housing, Theory and Society, 35(2), 178-192.

Sripanich, B., Nitivattananon, V., & Perera, R. (2015). City development fund: A financial mechanism to support housing and livelihood needs of Thailand's urban poor. Habitat International, 49(1), 366-374.

Van Den Heiligenberg, H. A.R.M., Heimeriks, G. J., Hekkert, M. P., & van Oort, F. G. (2017). A habitat for sustainability experiments: Success factors for innovations in their local and regional contexts. Journal of Cleaner Production, 169(1), 204-215.

Visavateeranon, A., & Wibulma, S. (2016). Strong Communities for Creating Communities Sustainablity in Bangkok Metropolitan: Success Indicators and Lessons in Community. Srinakharinwirot Research and Development ( Journal of Humanities and Social Sciences), 8(15), 182-194.

Visetpricha, B. (2016). Community: From ideal to a tool of government. Journal of Humanities and Social Science, Thaksin University, 11(1), 9-35.