การพัฒนาฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา

Main Article Content

แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
กรรณิการ์ ตั้งตุลานนท์
พชรวีร์ ทองประยูร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา 2) พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา 3) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา โดยมีรูปแบบการวิจัย คือการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัย
เชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่การวิจัย คือวัด 27 แห่งในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา และทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ 23 ท่านด้วยคำถาม 2 ชุด คือสารสนเทศ 6 ข้อและคำถาม 9 ข้อ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำไปวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และพระนครศรีอยุธยามีองค์ประกอบทางพระพุทธศาสนา 5 ด้าน คือ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนพิธี และศาสนธรรม ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความศรัทธาและสืบทอดพระพุทธศาสนา พร้อมพุทธศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณี คติการสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ ส่วนฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา คือ เจดีย์ประธานสร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าเชิงพุทธปรัชญา คือหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการและหลักโอวาทธรรม 3 ประการ ส่วนพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าเชิงพุทธปรัชญา คือหลักอริยสัจ 4 หลักโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ และหลักมหาสติปัฏฐาน การพัฒนาระบบการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนาได้ 3 เส้นทาง คือ เส้นทางสายพระบรมสารีริกธาตุจักรวาลวิทยา เส้นทางสายมหาสติปัฏฐาน และเส้นทางสายอริยสัจ 4 ส่วนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้วัดทั้ง 27 แห่ง

Article Details

How to Cite
รักษาโฉม แ., ตั้งตุลานนท์ ก., & ทองประยูร พ. (2022). การพัฒนาฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 523–537. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/256867
บท
บทความวิจัย

References

Barthes, R. (1990). Mythologies. Translated from the French by Annette Lavers. New York:The Noonday Press. Twenty-third Printing.

Boonphon, S. (2021). Phum Khao Bin Pagoda at Wat Mahathat. Outstanding Buddhist Art of Sukhothai Kingdom. Retrieved April 9, 2021, from http://aseanclubkku.Blogspot.com/2019/04/blogpost.html[9]

Charoensupakul, A. (1978). The Elements of Thai Architecture. (Kennedy, translator). Bangkok: Satri Sarn Printing Co., Ltd.

Damdee, S. (2006) . The study of Buddhist phiosophy for interior design of Buddhist Art Museum. (Master’s Thesis). Granduate School. Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Foreign Affairs Division, Ministry of Culture. (2012) Thailand's world heritage. Retrieved April 2, 2021, form https://www.m-culture.go.th/international/ewt_news.php?nid=121&filename=index.

Leksukhum, S. (2010). Fine arts Word of antique craftsman. Bangkok: Rungsilp Printing.

Leksukhum, S. (2018). Sukhothai Art. Bangkok: Physics Center Publishing House.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). Commentaries:Thai version. Bangkok: MCU press.

Na Pak Nam. (2000). Ayutthaya Painting. Bangkok: Ancient city publishing house.

Phra Maha Wichan Liao Seng. (2001). Buddhist art and tourism: Study the role of. temples in preserving Buddhist arts for tourism. (Master’s Thesis). Mahidol University. Nakhon Pathom.

Phrakhru Sunthorn Sangkhapinit. (2017) The information system development of Buddhist destination and Thai cultural tourism as the gateway to ASEAN (Research reports). National Research Council of Thailand (NRCT) and The Thailand Research Fund (TRF).

Piramanayagam, S., & Seal, P. P. (2002). The Choice Between E-Books and Printed Books: A Study Among Hospitality and Tourism Educators and Learners Hospitality and Tourism Educators and Learners. Library Philosophy and Practice (e-journal), 3921.

Prince Tisavarakumarn, the Prince Damrong Rajanubhab. (1974). Legend of Buddha Chedi. Bangkok: Charoen Tham Printing House.