ผลกระทบและแนวทางการจัดการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ณัฏยาณี บุญทองคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในจังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดพิษณุโลก และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดพิษณุโลก ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยผู้วิจัยจะทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก 24 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เกี่ยวข้อง ทำการวิเคาระห์ข้อมูลโดย ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ แบบสรุปอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า 1. เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส   โคโรน่า 2019 ในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า การใช้วัดเป็นจุดศูนย์กลางในการเปิดโรงทานแจกจ่ายอาหาร และเงินสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ วัดเป็นโรงพยาบาลสนาม วัดเป็นสถานที่เผ่าศพผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สำหรับพระภิกษุสงฆ์แสดงธรรม ปาฐกถาธรรม ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ 2. ผลกระทบจากการ   แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า การจ่าย   ค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า ที่ต้องจ่ายประจำทุกเดือน สำหรับวัดที่ตั้งอยู่ในเมืองก็จะมีโรงครัวไว้ทำอาหารสำหรับถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ส่วนวัดที่ตั้งอยู่นอกเมืองได้รับผลกระทบน้อย 3. แนวทางการจัดการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้ 1) การใช้หลัก เสขิยวัตร 75 เป็นพุทธบัญญัติ 2) การสร้างและพัฒนาพระคิลานุปัฏฐาก 3) การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ 4) ให้ความรู้กับพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคและการแพร่เชื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanchamratsaeng, P. (2011). Effects of Dermatology on Quality of Life in Dermatology Patients. (Research Report). Bangkok: National Defense National Defense College.

Department of Disease Control. Ministry of Public Health. (2020). The World Health Organization (WHO) Has Sent 25 International Experts to China. and Here Are the Main Conclusions of these Experts after Nine Days of Practice”, Retrieved December 30, 2020, from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

Hassine, N. B., & Arayavechkit, T. (2021). Impact of Covid-19 per Household in Thailand. Retrieved November 11, 2021, from https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific/ phlkrathbkhxngokhwid-19-txkhraweruuexninpraethsithy

Karnkawinpong, O. (2017). Guidelines for the Preparation of Thailand in the Area of Emerging Diseases and Epidemics according to the International Health Rules 2005. (Research Report). Bangkok: National Defense National Defense College.

Kongkrarian, E. (2019). Roles of Thai Monks and Public Benefit Development in the Case of Phra Dhammamongkolyan (Luang Por Wiriyoung Sirintharo). (Research Report). Pathum Thani: Rangsit University.

Kruthen, W. (2020). COVID-19: Novel Coronavirus Global Threats 2020. Retrieved April 5, 2020, from https://www.bbc.com/thai/international-55217851

Pengchan, W. (2011). The Impact of Depression on the Society, Economy and Quality of Life of Thai People. (Research Report). Bangkok: National Defense National Defense College.

Phrakhu Samu Sanitwong, (Charoen), & Wattanapradith, K. (2020). UG5: Wat Phra Dhammakaya’s Principle to Overcome COVID-19. Journal of MCU Peace Studies, 8(sup), 371-385.

Sangsawangwatthana, T., Sirisaiyas, N., & Bodeerat, C. (2020). "New Normal" A New Way of Life and Adaptation of Thai People after Covid-19 : Work Education and Business. Journal of Local Governance and Innovation, 4(3), 371-386.

Srithong, K., Jearajit, C., & Suksatit, B. (2021). Health Literacy Situation of Monks in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies, 9(5), 1793-1804.

Xinhuathai. (2020). Situation Update "Covid-19 Virus". Retrieved April 5, 2020, from https:// www.thebangkokinsight.com/304240