การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรม ตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถ การสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน กลุ่มขยายผลมีลักษณะเหมือนกลุ่มตัวอย่างจริง ดำเนินวิจัยลักษณะการวิจัยและพัฒนาโดยใช้วิจัยผสมผสานวิธีที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานได้จากการสังเคราะห์ของการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน/นักวิชาการ การสนทนากลุ่มของศิษย์เก่าและปัจจุบันได้ข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนด้านการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถการสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู 2) รูปแบบการเรียนการสอนมีชื่อว่า“L.L. MODEL”โดยพบว่ามีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้จริง 3) ทดลองจัดการเรียนการสอนประสิทธิผลพบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาและวัฒนธรรมตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) ความสามารถการสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงขึ้น และ 3.3) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 4) ประสิทธิผลกลุ่มขยายผลพบว่า 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาและวัฒนธรรมตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) ความสามารถการสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงขึ้น และ 4.3) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ท้ายสุดนำรูปแบบการเรียนการสอนไปเผยแพร่สู่สาธารณะได้อย่างสมบูรณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Barron, F. (1987). Putting Creativity to Work. The Nature of Creativity, 76-98.
Bernie, T., & Charles, F. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in our Times. United States of America: Routledge.
Dechakup, P. (2015). Learning Management in the 21st Century. 2nd edition. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
Fishman, J. A. (1991). Reversing Language Shift: Theoretical and Empirical Foundations of Assistance to Threatened Languages. Clevedon: Multilingual Matters.
Hymes, D. (1974). The Foundations of Sociolinguistics: Sociolinguistic Ethnography. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2009). Model of Teaching. London: Allyn and Bacon.
Khammanee, K. (2017). Science of Teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Krashen, S. D., & Terrell, D. T. (1983). The Natural Approach: Language Acquisition in the Classroom. Hayward, CA: Alemany Press.
Labov, W. (1972). The Transformation of Experience in Narrative syntax. In Language in the Inner City. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.
Nillapun, M. (2014). Educational Research Methods. Nakhon Pathom: Educational Research and Development Center Faculty of Education Silpakorn University.
Nunan, D. (1991). Second Language Teaching and Learning. Boston, Massachusetts: Heinle & Heinle Publishers.
Prasitratasin, A. (1998). Social Linguistics. (2nd ed.). Bangkok: Printing House Chulalongkorn University.
Read. (2002). Leading into Literature Circles Through the Sketch-to-Stretch Strategy. The Reading Teacher, 55(5), 444-450.
Ricard, J. C. (2006). Communicative Language Teaching Today. New York: Cambridge University Press.
Scollon, S., & Scollon, J. (2012). Intercultural Communication: A Discourse Approach. London: Blackwell.
Savignon, J. S. (2002). Interpreting Communicative Language Teaching. London: Yale University Press.
Taylor, H. (1983). “ERIC/RCS Report: Oral Language: A Neglected Language Art?”. Language Arts, 60(2), 255-258.
Wangpusit, K. (2012). Commercial Business Names in Siam Square: A Study in Linguistic Landscape. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.