ผู้ไกล่เกลี่ยวิชาอาชีพกับทางเลือกใหม่ในการระงับข้อพิพาท

Main Article Content

ณรงค์ศักดิ์ อัจฉรานุวัฒน์
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์

บทคัดย่อ

ศาลยุติธรรมของไทยนำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อันเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างหนึ่งมาใช้ควบคู่กับการพิจารณาคดีของศาล ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เรียกว่า
“ผู้ประนีประนอม” เป็นบริการของรัฐจัดให้เปล่าที่คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้ประนีประนอมเป็นบุคคลภายนอกที่อาสาสมัครและได้รับการฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยจากศาลยุติธรรม นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา
20 ปี ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงทุกด้านไปจากเดิมมาก ทำให้คดีข้อพิพาท มีความสลับซับซ้อนตามไปด้วย ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดโอกาสให้เอกชนจัดตั้งองค์กรให้บริการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทแก่ประชาชนโดยสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าจ้างได้ อาทิ ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีองค์กรบริษัทชื่อ JAMS ก่อตั้งปีพ.ศ. 2522 ประสบความสำเร็จในการให้บริการระงับข้อพิพาท โดยมีจุดเด่นได้แก่การมีผู้พิพากษาและทนายความที่เกษียณอายุแล้วมีอายุเฉลี่ย65 ปีขึ้นไปเป็นผู้ไกล่เกลี่ยวิชาชีพ


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อจำกัดของผู้ประนีประนอมในการไกล่เกลี่ย ได้แก่ การเป็นอาสาสมัครที่เข้ามาทำหน้าที่ ซึ่งแม้จะมีประกาศสำนักงาน ศาลยุติธรรม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายของผู้ประนีประนอม พ.ศ. 2556 ข้อ 6 ให้จ่ายค่าป่วยการเป็นรายคดี คดีละ 1,000 บาท หรือการไกล่เกลี่ยที่มีคดียุ่งยากซับซ้อนและใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยรวมกันมากกว่า 6 ชั่วโมง ที่ผู้รับผิดชอบราชการศาลสามารถกำหนดอัตราค่าป่วยการเกินกว่า 1,000 บาทก็ได้ แต่ต้องไม่เกินคดีละ 6,000 บาทก็ตาม  อัตราค่าป่วยการดังกล่าว จึงไม่จูงใจให้ผู้มีความสามารถสมัครเข้ามาทำหน้าที่ 2) ในขณะที่ผู้ไกล่เกลี่ยวิชาชีพของ JAMS ได้ค่าตอบแทนจากการไกล่เกลี่ยอัตราชั่วโมงละประมาณ 200 ถึง 375 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เอื้อต่อการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพของผู้ไกล่เกลี่ยแต่ละคน ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกามีกระบวนการไกล่เกลี่ยไม่แตกต่างกัน 3) จึงควรจัดให้มีผู้ไกล่เกลี่ยวิชาชีพ ขึ้นในศาลยุติธรรม โดยจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ และมาตรฐานผู้ไกล่เกลี่ยวิชาชีพ เพื่อเป็นการพัฒนาการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Alternative Dispute Resolution Office, The Office of the Judiciary. (2013). Handbook of The Center of Reconciliation and Peaceful Means. Bangkok: Tana press Co., Ltd.
Chantara-Opakorn, Anan. (2015). Alternative ways for Dispute Resolution : Negotiation, Mediation and Conciliation, Arbitration. Bangkok: Faculty of Law, Thammasat University.
Manprasert, C. (2008). Achievement evaluation on mediation system of court of justice : a case study of Civil Court, Chiang Mai Province. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Nooruangngam, P. (2013). Development of Restorative justice : A Case Study of Mediation in Resolving Administrative Disputes Enforcement in Thailand. Journal of Thai Justice System, 6 (2), 104 – 106.
Nuyimsai, W. (2016). A Comparative Study of Mediation Centre of Lawyers Council of Thailand and Buddhist Peaceful Means (Doctoral Dissertation). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Office of Planning and Budget. Court of Justice Thailand. (2019). Annual Judicial Statistics Thailand 2019. Retrieved July 9, 2021. from https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/2085/iid/196196
Office of Judicial Affairs, The Office of the Judiciary. (2017). Hawaii Conciliate. Bangkok: Tana press Co., Ltd.
Rungrueangphadung, P. (2018). Develoment of Subpaya to Enhance Efficacy of Mediation. (Doctoral Dissertation). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Todsungnoen, J., Gluntapura, O. (2014). Factors contributing to the success of the community mediation: A case study of Khok Kham district community justice center, Mueang district, Samutsakhon province. Journal of Social Sciences and Humanities, 40 (1), pp. 98 – 113.
Dhammahaso, Phramaha Hunsa. (2004). A Pattern of Conflict Management by Buddhist Peaceful Means: A Critical Study of Mea Ta Chang Watershed Chiang Mai. (Doctoral Dissertation). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.