แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

จิตราภรณ์ เถรวัตร
พยอม ธรรมบุตร
เสรี วงษ์มณฑา
กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ
3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบรายการศึกษาชุมชน แบบตรวจสอบทรัพยากรทางการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 32 คน ภาครัฐ จำนวน 8 คน ภาคเอกชน จำนวน 8 คน ภาคประชาชน จำนวน 8 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 8 คน ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จัดความสำคัญ จัดกลุ่มเนื้อหา รวมถึงการวิเคราะห์ จำแนก และสรุปประเด็นสำคัญ


ผลการศึกษาพบว่า 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี ทางธรรมชาติที่โดดเด่น ได้แก่ อุทยานแห่งชาติพุเตย ทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัดป่าเลไลยก์ ทรัพยากรมหกรรม ได้แก่ งานนมัสการสมโภชและนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ ทรัพยากรกิจกรรม ได้แก่ ศึกษาวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และทรัพยากรบริการ ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึก 2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของจังหวัดสุพรรณบุรี จุดแข็ง คือ มีที่ตั้งอยู่ภาคกลาง มีแม่น้ำท่าจีน จุดอ่อน การท่องเที่ยวในสุพรรณบุรียังขาดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โอกาส คือ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านเกษตรอินทรีย์และอาหารโลกที่ปลอดสารเคมีเพื่อสุขภาพ อุปสรรค คือ วิกฤตทางเศรษฐกิจโลกและภายในประเทศ 3) ศักยภาพด้านทรัพยากรท่องเที่ยว ศักยภาพการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนสามารถกำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ ศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ศักยภาพกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อความหมายที่เหมาะสมกับพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chan-iad, J. et al. (2018). The Development of Experiential Tourism in the Area of Watthana Nakhon District, Sa Kaeo Province. Liberal Arts Journal Prince of Songkla University Hat Yai Campus, 10(2), 156-187.

Chantavanich, S. (2018). Qualitative Research Methods. Bangkok: Chulalongkorn University.

Division of Tourism and Sports Economy Ministry of Tourism and Sports. (2019). Tourism situation in December 2019. Retrieved June 20, 2021, from https://www.mots.go.th/download/article/article_20200123132729.pdf

Ekphachaisawat, Th. (2011). Community Studies. Bangkok: Active Print.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). The 2nd National Tourism Development Plan (2017-2021). Bangkok: Office of Printing Works of the War Veterans Organization.

Noiklai, W. et al. (2020). Tourism Potential and Guidelines for Sustainable Integrated Tourism Development in Lopburi Province, Thailand. Journal of Management Review Science, 22(2), 109-120.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). The 12th National Economic Development Plan (2017-2021). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Thammabutr, P. (2015). Documents for Teaching and Learning Subjects. Ecotourism Management. Bangkok: Institute of Tourism Development Srinakharinwirot University.

United Nations. (2002). World Population Ageing: 1950 – 2050. New York: U.S.A.

World Tourism Organization. (2017). UNWTO Annual Report 2017. Retrieved June 20, 2021, from https://doi.org/10.18111/9789284419807

WTTC. (2015). Global Benchmarking Travel & Tourism. Retrieved June 20, 2021, from http://www.wttc.org/media/files/reports/benchmark%20reports/regional%20results%202015/global%20benchmarking%20report%202015.pdf