การวิจัยและพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาในการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มเปราะบางในชุมชน

Main Article Content

นิภาวรรณ เจริญลักษณ์
เริงวิชญ์ นิลโคตร
ชาตรี ลุนดำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทุนศักยภาพของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ         กลุ่มเปราะบาง และ 2) พัฒนาแนวทางการเสริมศักยภาพและพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาดูแลกลุ่มเปราะบาง    ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 30 คน เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครงเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลบางช้างเหนือ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามด้านพฤติกรรมสุขภาพ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนศักยภาพของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเปราะบางประกอบด้วย      การบริหารแบบมีส่วนร่วมแบบ “บ้าน วัด โรงเรียน” โดยมีวัดบางช้างเหนือเป็นศูนย์กลางการประสานงาน การมีกลุ่มจิตอาสาที่เข้มแข็งในชุมชน การบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี และกิจกรรมที่ต่อเนื่อง 2) การเสริมศักยภาพเครือข่ายจิตอาสาดูแลกลุ่มเปราะบางพบว่าความจำเป็นด้านการเสริมสร้างสุขภาพและการจัดการตนเองของกลุ่มเปราะบาง ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.04,        S.D. = 0.09) องค์ความรู้ที่ค้นพบจากการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาในการสร้างเสริมสุขภาพ           กลุ่มเปราะบางในชุมชนคือศักยภาพของชุมชนมีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มเปราะบางในชุมชนให้เกิดความยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Mental Health. (2019). Thailand's Step forward to the 'Aging Society' Perfectly. Retrieved September 29, 2019, from https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.as p?id=30476

Hanklang, S. (2019). Care for Frail Older People in Community for Sustainability of Well-Being. APHEIT Journal of Nursing and Health, 1(1), 1-17.

Kanyakan, K., Kosalvitr, T., & Bunyaniwarawat, N. (2019). Integrated Community-Based Long Term Care Model Using Community Participation for Dependent Elders at Dongbang Promoting Hospital in Mueang District, Ubon Ratchathani Province.Journal of Humanities & Social Sciences (JHUSOC), 17(1), 1-20.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Ministry of Social Development and Human Security, Department of Older Persons. (2019). Measures to Drive the National Agenda on Aging Society (Revised Edition). (2nd ed). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Phra Watthaya Thitisampanno. (2017). Cooperation of Village, Temple and School in Social Development Viharndaeng District, Saraburi Province. Journal of MCU Social Development (JMSD), 2(3), 86-102.

Sasat, S. (2012). Elderly Care Assistant: Formal Caregiver and Guidelines for Educational Quality Assurance in Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Srasom, N. (2017). The Participatory on “Ban Wat Rongrean Management” of Buddhist Monastic School under the Bangkok Metropolitan Administration. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Nakhonpathom.

Thientaworn, V. (2012). New Health Promotion Textbook. (2nd ed.). Bangkok: Office of Printing Works, Veterans Affairs Organization.

Yuthavong, Y. (2015). Health and Life System Reform, Democratic Consciousness Reform. Nonthaburi Province: Decemberry Company Limited.