กระบวนการเผาศพเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในสังคมไทยปัจจุบัน ตามหลักพุทธสันติวิธี กรณีศึกษาวัดบริบูรณ์ ชุมชนบ้านขี้เหล็กใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

นงนภัส เดชะองอาจ
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการเกิดมลพิษจากการเผาศพ 2) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหามลพิษจากการเผาศพในเขตชุมชนด้วยหลักพุทธสันติวิธี และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการเผาศพเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในสังคมไทยปัจจุบันตามหลักพุทธสันติวิธี ของวัดบริบูรณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีการการสนทนากลุ่มจากผู้นำศาสนา นักวิชาการ ผู้นำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน โดยนำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของการเกิดมลพิษจากการเผาศพของวัดบริบูรณ์ บ้านขี้เหล็กใหญ่ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยมลพิษทางอากาศจากการเผาศพ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาวะของทั้งผู้ที่อยู่ในวัดและชุมชน มลพิษที่เกิดจากเตาเผาศพ เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ ที่ไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ฝุ่นละออง/เขม่าควันกลิ่นเหม็น SO2 CO และ NO2 และการเผาไหม้วัสดุตกแต่งโลงศพ เช่น พวงหรีด พลาสติก สีทาโลง ซึ่งจะก่อให้เกิดโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท และสารไดออกซินและฟิวแรนจากการรายงานของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุของมลพิษเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสิ่งของที่ใส่ไปในเตาเผา 2) กระบวนการเผาศพเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยหลักพุทธสันติวิธีของวัดบริบูรณ์ บ้านขี้เหล็กใหญ่ จัดการด้วยกระบวนการสาธารณะและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับภัยมลพิษจากเผาศพโดยการจัดกระบวนการสาธารณะสนทนาในพื้นที่ให้ความรู้จากมลพิษที่ก่อเกิดภัยอันตรายในการเผาศพและการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีของเตาเผาศพแบบสองห้องเผามาจัดการปัญหามลพิษจากการเผาศพในเตาเผารุ่นใหม่ 3) การจัดการเผาศพเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในสังคมไทยปัจจุบันตามหลักพุทธสันติวิธี ของวัดบริบูรณ์ ด้วยแนวคิดและวิธีการใหม่อย่างเป็นขั้นตอนที่เรียกว่า กระบวนการหลัก 5 สติ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ 5 เป็นธรรมที่กำจัดแก้อกุศลนิวรณ์ อินทรีย์เป็นธรรมเสริมสร้างกุศลอิทธิบาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonprakan, G., & Chitnirat, N., (2018). Funeral Management and Identity of Undertakers in the Context of Southern Napa Area: A Case Study of Wat Matchimphupha Community (Don Klang) , Ronphibun District. Nakhon Si Thammarat Province. Journal of MCU Nakhondhat, 5(3), 824-841.

Chantarat, N. (2009). Legal Measures for Controlling Air Pollution Caused by Cremation. (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Padphadee, S. , Charoensuk, P. , & Lunsamrong, W. (2020). Air Pollution Study and Risk Assessment. for health from a solid waste incinerator. Journal of Health Center 9. Journal of Health Promotion and Environmental Health, 14(33), 001-021.

Phra Athikan Surasak Sukhumalo (Khongmuang). (2020). Temple and the center of learning and development of the people. Chaiyaphum Journal, 3(1), 37-49.

Rummasak, T. (2016). Dust and its effects on health. Retrieved October 1, 2021, from https://www.stou.ac.th/study/sumrit/6-59(500)/page2-6-59(500).html

Siamrath Online. (2021). Sudkool Dong “Phaya Naga” Street Art Ban Khi Lek Yai, So Phisai, Bueng Kan Province. Retrieved October 1, 2021, from https://siamrath.co.th/n/94363.