แนวทางพัฒนาเกณฑ์การประกวดวงโปงลาง

Main Article Content

บุลากร สมไสย
กฤษกร อ่อนละมุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเกณฑ์การประกวดวงโปงลาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คณะกรรมการผู้ตัดสินการประกวดวงโปงลาง คณะกรรมการจัดการประกวดวงโปงลาง ผู้ทำวงโปงลางเข้าประกวด โดยมีขอบเขตคือเวทีการประกวดวงโปงลาง ที่สำคัญและมีผู้นิยมส่งวงโปงลางเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก ได้แก่ 1. การประกวดวงโปงลางชิงแชมป์ประเทศไทย 2. การประกวดวงโปงลางฟ้อนลำแคนคอนเทสต์ และ 3. การประกวดวงโปงลางในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมรวมข้อมูลได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในแต่ละปรากฏการณ์ และทำการวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยตีความสร้างข้อสรุปจากรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็น ซึ่งประกอบด้วย ปรากฏการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์ โดยผู้วิจัยทำการตรวจสอบตีความสรุปย่อยยืนยันแน่ชัดในแต่ละเหตุการณ์ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปใหญ่ที่เป็นความมุ่งหมายของการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า กติกาการประกวดด้านเวลาการประกวด ควรมีการแยกเวลาในการตั้งเครื่อง เวลาในการแสดง และเวลาในการเก็บเครื่องดนตรี ออกจากกันอย่างชัดเจน และจะต้องกำหนดลายเพลงที่แต่งขึ้นใหม่โดยยังไม่เคยเผยแพร่จากที่ใดมาก่อน และต้องมีการกำหนดลายพื้นบ้านแบบดั้งเดิมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ด้านเกณฑ์การตัดสินและการให้คะแนน ให้มีการตัดสินโดยการจัดลำดับ โดยใช้หลักการเกี่ยวกับค่าความถี่ พร้อมให้เหตุผลว่าได้ลำดับต่าง ๆ เพราะเหตุใด และผู้ที่จะมาเป็นกรรมการการตัดสินการประกวดวงโปงลาง จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญในด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน

Article Details

How to Cite
สมไสย บ., & อ่อนละมุล ก. (2022). แนวทางพัฒนาเกณฑ์การประกวดวงโปงลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1120–1132. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255704
บท
บทความวิจัย

References

Laothong, N. (2012). A Study and Improving on Criteria of Appraising Thai Classical Music Ensemble Contest. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Palasak, B. (1999). Succession process of Pong-Lang in Kalasin province. (Master’s Thesis). Mahidol University. Nakhon Pathom.

Piewrat, V. (2015). Pong-Lang Ensemble: Creation and Development of Indigenous Performing Art Standards. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Pongphit, S. (1996). return to roots. Bankok: Tuenwan.

Prathumsin, S. (2020). Judges of the Pong Lang Contest. Interview. January, 5.

Prommapun, B. (2007). Monitoring and evaluating project performance according to the quality development plan Life of informal workers in the service sector: rubbish digging and related labor. Education journal STOU, 1(2), 40-51.

Sotesiao, S. (2011). Process of Transmission and Development of Isan Folk Music Ensemble in Secondary Schools in Khon Kaen Province. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Sujiva, S. (2008). Development of a performance appraisal system for government teachers. KKU Research Journal (Graduate Studies), 8(4), 77-89.

Thongthip, S. (2015). Development Approach to the Success of The Secondary level Ponglang Band in the Northeastern. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Vongvanich, S. (2001). Classroom Action Research. Bankok: Agsornthai.