สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมืองเพื่อเสริมสร้างกระบวนการปรองดอง: กรณีศึกษาพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย

Main Article Content

อภิญญา ดิสสะมาน
ชลัท ประเทืองรัตนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมืองเพื่อเสริมสร้างกระบวนการปรองดองของประเทศ” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการคือ 1) เพื่อค้นหาทุนทางสันติวัฒนธรรมในพรรคการเมืองไทยโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย 2) เพื่อสำรวจสันติวัฒนธรรมของพรรคการเมืองที่ได้มาประยุกต์ใช้เพื่อเกิดกระบวนการขับเคลื่อนการปรองดองและ และ 3) เพื่อให้มีข้อเสนอแนะทางนโยบายในการใช้สันติวัฒนธรรมกับการแก้ไขปัญหาการเมืองการปกครอง โดยมีวิธีวิทยาและขอบเขตของการวิจัยเป็นงานวิจัยแบบ Mixed –Method ผสมระหว่างปริมาณและคุณภาพ ซึ่งผลวิเคราะห์ที่ได้เชิงปริมาณและผลวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยคือ นักการเมืองที่อยู่ในพรรคขณะนั้น, ผู้นำพรรคการเมืองตามภูมิภาค, นักวิชาการและประชาชนทั่วไป ผลการวิจัย โดยผลวิเคราะห์พบประเด็นที่สำคัญคือ ผลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าทั้งสองพรรค มีองค์ประกอบของทุนทางสันติวัฒนธรรมทั้งสองพรรคในรูปแบบที่แตกต่างกัน ผลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าต้นทุนสันติวัฒนธรรมขอแงสองพรรคเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายพรรคและการได้มาซึ่งคะแนนเสียงเลือกตั้ง และผลตามวัตถุประสงค์ในข้อที่ 3 คือการมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายพรรค แม้พรรคการเมืองจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันไปตามแบบแผนที่พรรคถือปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดสันติวัฒนธรรมและต้นทุนทางสันติวัฒนธรรมจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการอยู่ร่วมกันของพรรคการเมืองบนความแตกต่างและสามารถนำไปสู่การค้นหากระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของพรรคควรเน้นส่งเสริมสันติวัฒนธรรมและประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ และต้องเห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความต้องการของประชาชนเป็นที่ตั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Avruch, K. (2006). Culture and Conflict Resolution. Washington D.C.: United States Institute of Peace.

Carothers, T. (2006). The Backlash Against Democracy Promotion. Foreign Affairs, 85(2), 55-68.

De Rivera, J. H. (2009). Handbook for Building Cultures of Peace. NY: Springer.

Huntington, S. P. (1993). If not civilizations, what? Paradigms of the post-cold war world. Foreign affairs, 72(5), 186-194.

Gawerc, M.I. (2006). Peace-building: Theoretical and Concrete Perspectives. Peace and Change, 31(4), 435-478.

Lederach, J.P. (2017). Building Peace Sustainable reconciliation in divided society. Retrieved May 3, 2019, from https:// pestuge. iliauni.edu.ge/wp-content/uploads/2017/12/John-P.-Lederach-Building-Peace.-Sustainable-Reconciliation-in-Divided-Society.pdf.

Ricigliano, R. (2012). Making peace last: A toolbox for sustainable peacebuilding. Paradigm Publishers: Boulder, CO.

Taylor, C. (1994). Multiculturalism and the Politics of Recognition. New Jersey: Princeton University Press.

Rosoux, V. (2009). Reconciliation as a Peace-Buiding Process: Scope and Limits. In The SAGE Handbook of Conflict Resolution, eds. Bercovitch, J., Kremenyuk, V. A., & Zartman, I. R.