การศึกษาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของวัดป่าและมาตรฐานการพัฒนาวัด กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความ การศึกษาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของวัดป่าและมาตรฐานการพัฒนาวัด กองพุทธศาสนสถานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาพนธ์ เรื่อง ภาพอนาคตสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างภายในวัดป่าด้วยพุทธสหวิทยาการ ซึ่งในบทความนี้มุ่งศึกษาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของวัดป่า และมาตรฐาน การพัฒนาวัดเป็นมาตรฐานจากการกำหนดของกองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปัจจุบันป่าไม้ที่ล้อมรอบวัดป่าในประเทศไทยจำนวนหลายวัดได้ถูกตัดโค่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ หรือไม่ก็เพื่อใช้ประโยชน์ในที่ดินวัดป่าหลายวัดจึงกลายสภาพเป็นวัดบ้าน ถึงแม้ว่าพระสงฆ์ในวัดเหล่านี้ จะยังคงธรรมเนียมปฏิบัติแบบสายพระป่าอยู่ แต่วัดป่าได้สูญเสียอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ไปแล้วคงเป็นวัดป่าเพียงชื่อ แต่ทั้งนี้ วัดป่าก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อเวลาเปลี่ยนสังคมเปลี่ยน และปัจจัยทางเศรษฐกิจเปลี่ยนวัดป่าจึงต้องเปลี่ยนไป โดยในบทความนี้เลือกทำการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัดป่าที่ได้รับพิจารณาคัดเลือกจากประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง ผลการคัดเลือกอุทยานการศึกษา ในวัด วัดพัฒนาตัวอย่าง และวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2563 ซึ่งมีจำนวนวัดป่าที่ได้รับการคัด เลือกจำนวน 13 แห่ง โดยพบว่า วัดป่าที่ได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น วัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษามีความย้อนแย้งกับสิ่งที่ได้รับคัดเลือกและความมีอัตลักษณ์ของวัดป่าถึงแม้วัดที่ได้รับการคัดเลือกต้องได้รับการพัฒนาในด้านการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ การพัฒนาวัดเพื่อให้วัดมีสภาพสะอาด สงบ และสว่าง เพื่อสร้างความสุขทางด้านจิตใจให้กับประชาชน แต่ก็ไม่มีข้อใดจากการได้รับการคัดเลือกที่บ่งบอกได้ว่าวัดป่าจะสามารถรักษาอัตลักษณ์ของวัดป่าได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chaisuwan, P., & Charoonseang, P. (2018). The Forest Monastery and Environment Preservation. Inthaninthaksin Journal, 13(2), 166-175.
Chansuebsri, S. (n.d.). Thai Architecture: Temples. Retrieved March 24, 2021, from https://blog.rmutl.ac.th/suebpong/Thaiweb/Wat53.pdf
Jongjitngam, S. (2021). Buddhist Monasteries in Buddha’s Period. Panidhana Journal, 17(1), 1-24.
Phramaha Punsombat Pabhakaro, Phrakrusamu Thanachot Ciradhammo, & Peuchthonglang, P. (2020). Dhammayuttikaniyaka: Buddhism's Connecting Point from Lanka to Mon to Siam. Journal of Philosophy and Religion, 5(2), 119-139.
The National Office of Buddhism. (2011). Guide to the Development of Measurements to Be Standardized. Retrieved May 5, 2021, from https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/88/iid/4236
The National Office of Buddhism. (2020). Announcement of the National Office of Buddhism on Selection Results for the Educational Parks in Temples, Sample Development Temples, and the Best Performance Sample Development Temples for the Year 2020. Retrieved September 14, 2021, from https://www.m-culture.go.th/phuket/ewt_news.php?nid=1376&filename=index
The National Office of Buddhism. (2020). Announcement of the National Office of Buddhism on Qualifications, Criteria, and Scoring Criteria for Selecting the Best Performance Sample Development Temples, Sample Development Temples, and the Educational Parks in Temples for the Year 2021. Retrieved December 24, 2021, from https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/11/iid/7916
Tongklom, S. (2015). Buddhist Monasteries of Dhammayuttika Nikaya in Ubon Ratchathani. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment Journal, 12, 354-383.