การเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องเหล้าและบุหรี่ ตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พระราชรัตนเวที
อัครเดช พรหมกัลป์
รัตติยา เหนืออำนาจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องเหล้าและบุหรี่ และ 2) พัฒนากิจกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องเหล้าและบุหรี่ตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ ศึกษาด้วยการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย ขั้นตอนที่ 2 การขับเคลื่อนกิจกรรมฯ และขั้นตอนที่ 3 สังเกต ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ในพื้นที่ชุมชนหนองกระดูกเนื้อ-ดอนยาว ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนบึงบอระเพ็ดวิทยา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องเหล้าและบุหรี่ตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย การขับเคลื่อนกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 4 กิจกรรม มีภาคีเครือข่ายที่เกิดขึ้นจำนวน 63 ภาคีเครือข่าย ผลที่ได้รับ คือ มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และมีการเสริมและสร้างเครือข่ายระดับจังหวัดและระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม 2) กิจกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องเหล้าและบุหรี่ตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย การขับเคลื่อนกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 13 กิจกรรม ใน 3 กลุ่ม ดังนี้ 2.1) การพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบ (บ้านหนองกระดูกเนื้อ-ดอนยาว) ผลที่ได้รับ คือ การเข้าร่วมโครงการ จำนวน 360 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 มีการขยายผลโครงการไปยังชุมชนใกล้เคียง 40 หลังคาเรือน และพัฒนาเป็นชุมชนคุณธรรมปลอดเหล้า บุหรี่ และลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ 2.2) การดำเนินกิจกรรมโรงเรียนรักษาศีล 5 ที่โรงเรียนบึงบอระเพ็ดวิทยา ผลที่ได้รับ คือ การเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 มีแกนนำเยาวชนเพื่อรณรงค์การลดปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) จำนวน 59 คน มีการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากภาคีเครือข่ายในปีงบประมาณ 2565 และ 2.3) การป้องกัน นักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มสามเณร โรงเรียนรัตนปัญญาวิชชาลัย วัดหนองกระดูกเนื้อ ผลที่ได้รับ คือ การเข้าร่วม โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 สามเณรมีองค์ความรู้ มีเทคนิคการปฏิเสธ และมีการสร้างความกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kantatian, W., Phramaha Surasak Puccantaseno, & Maechee Kritsana Raksachom. (2019). Project of Buddhist Integration on Development of Knowledge and Health Supporting Process to Reduce Risk Factors. Journal of Graduate Study Review, 15(2), 56-67.

Maharutsakul, P. (2021). The Development Format Underlying Community Sufficiency Economy Model “Happiness Community” in Nakhonsawan Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(4), 307-323.

Ministry of Public Health. (2021). Use of Public Health Services. Retrieved September 9, 2020, from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

Phra Phichai Piyasilo (Inthasao). (2017). Community Development Based on Buddhist Community. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 489-504.

Phrakhrunivitsinlakhan, & Phumturian, S. (2020). The Role of Sangha to Community Strength through Ba Worn Network in Khao Thong Sub-district, Phayuha Khiri District, Nakhonsawan Province. The Journal of Research and Academics, 3(1), 29-43.

Phramaha Boonlert Chuaythanee. (2017). The Communities Preserving 5 Precepts: Model and Promote Processes of Unites Cultural in Thai Society. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 435-448.

Phramaha Sunan Sunando (Ruchiwet). (2015). Buddhist Integrated Approach to the Management of Buddhist Schools. (Research Report). National Research Council of Thailand: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phrasrisombhot (Waranyu Sonchun). (2020). Nakhonsawan River Watershed: Making Network and Cultural Heritage Management Based on Buddhism. The Journal of Research and Academics, 4(1), 37-46.