การพัฒนานวัตกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านบทผญา ของพระนักเทศน์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนานวัตกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านบทผญาของพระนักเทศน์ จะช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนามีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น และช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาและผู้รับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักคำสอนและวิธีการสอนที่ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า 2) ศึกษาบทผญา สภาพปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านบทผญาของพระนักเทศน์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพัฒนานวัตกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 3) ประเมินผลการใช้นวัตกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยการใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา โดยศึกษาเอกสาร สร้างเครื่องมือการวิจัย คือนวัตกรรมการเทศน์ผญา เพื่อทดลองใช้กับกลุ่มผู้ฟังเทศน์หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน ซึ่งสุ่มแบบแบ่งชั้นจาก เจ้าหน้าที่วัฒนธรรม ครูอาจารย์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบล ธุรกิจส่วนตัว เกษตรกร นักเรียนนิสิตนักศึกษา สุ่มแบบเจาะจงพื้นที่ใน จังหวัด อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ แล้วประเมินผลนวัตกรรม พัฒนานวัตกรรมอีกครั้ง เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สาธารณชนทั่วไปผ่านเฟซบุ๊ก
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลายหมวดธรรม แต่ที่ได้รับความนิยมมากคือไตรสิกขา ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ 3 องค์ประกอบ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ส่วนพุทธวิธีการสอนมีหลายวิธี แต่การวิจัยเรื่องนี้เลือกหลักนวังคสัตถุศาสน์แบบเคยยะ ส่วนเนื้อหาเลือกเรื่องกุศลกรรมบถ10 และอกุศลกรรมบถ 10 2) สัมภาษณ์พระนักเทศน์ผญา พบปัญหา คือ พระนักเทศน์และผู้ฟังเทศน์ตีความผญาที่ใช้ภาษาโบราณไม่ได้ ผู้วิจัยจึงประพันธ์บทผญาที่ใช้ภาษาปัจจุบันเรื่องกุศลกรรมบถ 10 และอกุศลกรรมบถ 10 ขึ้นมาใหม่ จำนวน 38 บท เสนอให้พระนักเทศน์ เทศน์ แล้วจัดทำคลิปวิดีโอและเอกสาร สร้างแบบสัมภาษณ์เชิงลึกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ และจัดสนทนากลุ่ม 3) ผลจากการทดลองใช้นวัตกรรมพบว่า ได้รับความรู้ในหลักธรรม จำนวน 25/25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ประทับใจการฟังเทศน์ จำนวน 24/25 คน คิดเป็นร้อยละ 96 เปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น จำนวน 24/25 คน คิดเป็นร้อยละ 96 พัฒนานวัตกรรมเพิ่มการตีความผญาเป็นภาษาไทยกลาง เผยแพร่ลงในเฟซบุ๊ก เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สาธารณชนทั่วไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Buasri, U. (2021). Qualified Director of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khon Kaen Campus. Focus Group. February, 12.
Buddhadasa Bhikkhu. Who Insulted in Response Were Worse Than Who Insulted at First. Retrieved May 24, 2021, from https://web.facebook.com/AJahnBuddhadasa/posts
Deesuankhok, Ch. (2021). Office of Cultural Promotion, Khon Kaen University. Focus Group. February,12.
Hnuchuseesakul, S., Sinlarat, P., & Fakkhao, S. (2021). The Development of Training Courses According to the Buddhist Teachings to Promote the Ability to Comply with the Threefold Training for the Newly Ordained Monks. Journal of MCU Peace Studies, 9(4), 1614-1626.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitikas. Bangkok: MCU Press.
Piampathom, A. (2017). An Analitical Study of Kusalakammapatha for Development of Life. (Master’ Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Pimsen, P. (2002.). Atibuy Phaya 1. Khon Kaen: Khon Kaen Printing.
Phrakruabhirakchaimongkol (Phramahatu Kittiwanno). (2005). Studying Moral Phaya with Isan Monks use in Teaching. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Pramaha Kitti Kittimethi, (2021). Preacher of Wat Chetiyaphum, Nam Phong District, Khon Kaen Province. Interview. February, 12.
Phramaha Dao Siam Wachirapanyo, et al. (2021). Asst.Prof.Dr.Directer of MCU Khon Khaen Campus. Focus Group. February, 12.
Pramaha Pornsawan Kittivaro. (2011). A Study of Human Resources Development According to the Principles of the 10 Wholesome Courses of Action. (Master’ Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Surasieng, P. et al. (2021). The Culture of Chaiyaphum Province. Interview. March, 24.
Tayraukhum, S., (2014). Research and Development: Method for Research Developing. Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University, 1(1), 1-10.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitikas. Bankok: MCU Press.
Thippaboon, Ch., & Chenpitayaton, K. (2021). Anger and the Self: Driver’s Pattern of Anger Expression In Traffic Collision in Bangkok Metropolitan. Journal of MCU Peace Studies, 9(4), 1337-1349.
Vongpanya, T. (2021). Open the Thai population for the year 2020-THE STAND. Retrieved November 18, 2021, from https://testandard.co/thai-population-2563/info-template-2020-cc-social-fb-ig-copy-9/
Vorametigul, U. et al. (2018). Buddhist Teaching Methods. Journal of Graduate MCU Khonkaen Campus, 5(1), 70-82.