แนวทางการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ ในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือผู้เข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 6 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย (1) การวิเคราะห์ศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมแล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ พบว่า ด้านที่พัก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ สถานที่จัดงาน และด้านสถานที่ท่องเที่ยว ตามลำดับ (2) ปัญหาและอุปสรรค ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวยังขาดประสิทธิภาพและไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน ระยะห่างระหว่างสถานที่จัดประชุมในตัวเมืองกับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอยู่ไกลกันมาก สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งอยู่ห่างกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน ที่พักที่ได้มาตรฐานมีจำนวนจำกัด และโรงแรมขนาดใหญ่มีจำนวนน้อย ด้านสถานที่จัดงาน ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถรองรับการจัดงานในขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานได้ ด้านบุคลากรด้านไมซ์ ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการและการให้บริการในธุรกิจไมซ์ และทักษะการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ (3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี คือ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ใน 7 ด้านคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านที่พัก ด้านความมั่นคงและปลอดภัย ด้านสถานที่จัดงาน และด้านทักษะบุคลากรด้านไมซ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Chaichofa, A. (2014). Readiness of Market Environment for Meeting Business to Support AEC of Hat Yai District. Songkhla Province. (Master’s Thesis). Prince of Songkla University. Songkla.
Chaowbanbho, Y. (2017). Competitiveness in the MICE Industry of Thailand. Journal of Development Management Research, 7(1), 78-89.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.
Digital Government Development Agency. (2020). Average Cost per Person per Day of Tourists. Retrieved September 20, 2021, from https://data.go.th/th/dataset/1529
Hair, J.F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.
Jarumaneerat, T., & Promsivapanlop, P. (2015). Project to Study the Image of Thailand as a Tourist Destination for MICE Businesses after the Crisis. (Research Report). Songkla: Faculty of Hospitality and Tourism Research Report Prince of Songkla University.
Jitthaworn, C. et al. (2012). Meeting Incentive Convention and Exhibition Management. (2nd ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.
Junla, J. (2013). Guidelines to Increase Potential of Khon Kaen Province, Thailand for MICE Tourism. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.
Phatthanawaraporn, K. (2014). Factors Affecting the Organization of MICE Industry in Thailand. (Master’s Thesis). Stamford International University. Bangkok.
Nunnally, J. (1978). Psychometric methods. New York: McGraw-Hill.
Saenjai, P., & Mongkhonsrisawat, S. (2015). Guidelines for the Development of Mice Tourism in Khon Kaen Province. Journal of International and Thai Tourism, 11(1), 54-67.
Seebaluck, V., & Naidoo, P. (2015). Prospects and Challenges of Business Tourism: A Case Study of Mauritius. Review of Business & Finance Studies, 6(3), 45-55.
Setthasatien, W. (2017). Potential and Readiness of Chiang Mai City for MICE Meeting Business. Journal of Graduate Research, 8(1), 199-215.
Srisompong, P. (2015). The Potential Factors of Meetings, Incentives, Conferencing, Exhibitions Business (MICE) in Phayao Province for ASEAN Economic Community Preparations. Research and Development Journal Suan SunandhaRajabhat University, 7(2), 45-56.
Tippeng, S., Wongmonta, S., Techakana, J., & Na Talang, C. (2019). A Development of MICE Industry Potentially in Songkhla Province, Thailand. Journal of Yala Rajabhat University, 14(2), 299-310.
Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2018). MICE Industry Statistics Report for the Fiscal Year 2018. (Research Report). Bangkok: Thailand Convention and Exhibition Bureau.
Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2019). Thailand MICE Index. (Research Report). Bangkok: Thailand Convention and Exhibition Bureau.
Tourism Authority of Thailand. (2020). Ubon Ratchathani Province Tourism Information. Retrieved June 29, 2020, from https://thai.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/ %E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5/587