รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาศทางการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกร ของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 364 คน และผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 โรงเรียน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2) สร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 364 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านปัจจัยนำเข้า (INPUT องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการ (PROCESS) องค์ประกอบที่ 3 ด้านผลผลิต (OUTPUT) และปัจจัยแห่งความสำเร็จ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (INPUT) องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการ (PROCESS) องค์ประกอบที่ 3 ด้านผลผลิต (OUTPUT) และเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ พบว่าความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ( =4.41) และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chaem Choi, S. ( 2018). School Management in Digital Era . (2nd ed.). Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.
Changmee, S. (2019). Administrative Model for Promoting Student Citizenship in Educational Institutions Basic. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.
Khangnarong, M. (2019). Analysis of the Needs and Necessities of Teacher Development Lertlah School Kaset-Nawamin Road Branch According to the Concept of the Teacher Innovator. Chulalongkorn University. Bangkok.
Khumsupha, P. (2019) The New Generation of Local Innovators and the Spread of Innovation to the Community. Nakhon Pathom University. Nakhon Pathom.
Kodsombut, P. (2015). Developing Guidelines for Academic Administration in Schools to Expand Educational Opportunities. (Master’s Thesis). Maha Sarakham Rajabhat University. Mahasarakham.
Lomsai, K. (2009). Community Strengthening. MBA: M.A. Bangkok.
Ministry of Education, (2018). National Education Standards B.E. (2018). Bangkok: Education Council Secretariat.
Office of the Education Council Secretariat. (2018). 20-Year National Development Strategic Plan. (2018-2037). Bangkok: Office of the Education Council Secretariat.
Sinlarat, (2011). CCPR, a New Conceptual Framework in Education. Bangkok: Chulalongkorn University.
Taprab, N. (2019). A Model for Developing Desirable Characteristics of Students in Private Schools Chaiyaphum Province. (Doctoral Dissertation). Maha Sarakham Rajabhat University. Mahasarakham.
The Secretariat of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: The Secretariat of the Education Council.
Udomphon, S. (2019). Spatial Courses for Developing Innovators to Development Innovative Management of the Entire School System by Using the Community as a Base Kanchanaburi. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Bangkok.
Wannasri, J. (2014). Innovation for the Development of Educational Institutions. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing.
Youngtrong, P. (2017). Strategies for Developing Desirable Characteristics of Learners in Basic Education Institutions In the 21st Century. (Doctoral Dissertation). Dhurakij Pundit University. Bangkok.