กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างสมาธิกับปัญญาในการปฏิบัติกรรมฐาน

Main Article Content

นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
มนตรี สิระโรจนานันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการทำงานของสมาธิในการปฏิบัติกรรมฐาน  2) เพื่อศึกษากระบวนการทำงานของปัญญาในการปฏิบัติกรรมฐาน  3) เพื่อศึกษากระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างสมาธิกับปัญญาในการปฏิบัติกรรมฐาน  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก  ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน  จำนวน 10 รูป/คน 


ผลการวิจัยพบว่า  สมาธิ หมายถึง ความสงบนิ่ง แน่วแน่  สมาธิในการปฏิบัติกรรมฐาน เป็นกระบวนการทำงานของจิตที่มีการพัฒนาจากจิตที่ฟุ้งซ่านเป็นจิตที่มีความสงบนิ่ง  คือเป็นจิตที่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้  ปัญญา หมายถึง ความรู้ชัด รู้แจ้ง  ปัญญาในการปฏิบัติกรรมฐาน เป็นสภาวะที่จิตรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง  การปฏิบัติกรรมฐาน แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ สมาธินำปัญญา ปัญญานำสมาธิ และปัญญากับสมาธิควบคู่กัน  การสอนกรรมฐานในสังคมไทย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1) กระบวนการทำงานร่วมกันโดยมีสมาธินำปัญญา มี 3 สำนัก คือ สายพุทโธ สายสัมมาอะระหัง และสายอานาปานสติ เป็นสำนักที่มีแนวการสอนในการเจริญสมาธินำ  กลุ่มที่ 2) กระบวนการทำงานร่วมกันโดยมีปัญญานำสมาธิ คือ สายพองหนอ-ยุบหนอ เป็นแนวการปฏิบัติที่ใช้การเจริญสติเป็นหลัก  และ กลุ่มที่ 3) กระบวนการทำงานร่วมกันโดยมีปัญญากับสมาธิควบคู่กัน คือ สายรูปนาม  ในการปฏิบัติของแต่ละสายมีแนวทางที่เริ่มต้นต่างกัน  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เลือกแนวการปฏิบัติให้ถูกจริตกับตนเอง  ในกระบวนการทำงานของสมาธิและปัญญา ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันและมีการทำงานไปพร้อมกัน แต่มีหน้าที่ต่างกัน  ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้  จะเลือกเจริญสมาธิให้จิตแน่วแน่ก่อนแล้วจึงเจริญปัญญา  หรือเจริญปัญญากำหนดรู้สภาวะตามความเป็นจริง  จนจิตสงบคลายจากความยึดมั่น  หรือเจริญสมาธิและปัญญาไปคู่กัน สุดท้ายแล้วมีเป้าหมายเดียวกัน  คือปล่อยวางจากความยึดมั่น  อันจะนำไปสู่ความหลุดพ้น


คำสำคัญ: สมาธิ; ปัญญา; กรรมฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Maechee Samlee Singhara. (2014). A Study of Samādhi and Paññā in Vipassanā Meditation. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: MCU Press.

______. (2009). Thai Aṭṭhakathā, Sutta Piṭaka, Majjhimanikāya, Mūlapaṇṇā, Papañcasūdani II. Bangkok: MCU Press.

Mahanirano, N. (2020). Guidelines for Vipassana Meditation Practice. (3rd ed.). Bangkok: Active Print Co., Ltd.

______. (2014). The Principles of Vipassana Meditation in Brief and the Five Meditation Practices for Beginners. Bangkok: Active Print Co., Ltd.

Phumphuang, Ph. (2011). A Study of Paññā-cetasika and the Development of Sampajañña in Vipassanā Meditation. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakhrupalad Mongkolwat. (2017). Abbot of Wat Tepjetiyajan. Interview. October, 28.

Phramaha Bua Ñāṇasampanno (Luangta Maha Bua). (2013). Samadhi-Bhavana with Luangta Maha Bua. (2nd ed.). Bangkok: Cyber Print Co., Ltd.

Phramaha Sunet Sunetto. (2011). An Analytical Study of the Relationship of Sammāsati and Sammaāsamādhi in Theravada Buddhism. (Master’s Thesis). Mahachulalong kornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Wutthichai Vuḍḍhijayo. (2018). A Model for the Development of Mind of Meditation Centers in Thai Society. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Bhavanakhemkun. (2018). Abbot of Wat Maheyong. Interview. January, 4.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2012). Buddhadhamma Extended Edition. (32nd ed.). Bangkok: Palitham Printing.

______. (2013). Dictionary of Buddhism. (21st ed.). Bangkok: Palitham Printing.

Phra Buddhakosajarn (P.A. Payutto). (2016). Samadhi in Buddhism. (29th ed.). Bangkok: O.S. Printing House.

Phra Krit Nimmalo. (2019). Head of Suan Tham Prasarnsuk Institute. Interview. December, 2.

Phra Dhammathiraratmahamuni (Chodok Ñāṇasiddhi). (2013). Question and Answer on Vipassana Meditation. (4th ed.). Bangkok: Canna Graphic Co., Ltd.

Phra Dhamvachiramuni, Vi. (2020). Director of Vipassanadhura Institute. Interview. January, 12.

Phra Debjetiyajarn. (2010). Meditation Teacher Course Book II. (5th ed.). Bangkok: Piccani Co., Ltd.

Phra Debyanmongkol. (2018). Abbot of Dhammakaya Temple. Interview. July, 27.

Venerable Ajahn Chah. (2008). Unshakeable Peace. Bangkok: Q Print Management Co., Ltd.

Wat Luang Phor Sodh Dhammakaram. (2010). A Study Guide for Samatha-Vipassana Meditation Based on the Five Meditation Techniques. Nakhonpathom: Phetkasem Printing.