ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ณิชาพัชร์ สายกระสินธุ์
ชลาธิป สมาหิโต
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันบริเวณหมู่บ้านวัชรพล 3 เขตสายไหม จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร จำนวน 24 แผน แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย 1 ชุด และแบบสังเกตทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะการคิดยืดหยุ่นสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะการคิดยืดหยุ่นที่ดีขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย การระบุปัญหาหรือสถานการณ์ การหาทางเลือกที่หลากหลาย การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติ และการทบทวนวิธีการ เพิ่มมากกว่าก่อนการทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hanmatee, S. (2015). EF Life Immunity and Drug Prevention: A Handbook for Kindergarten Teachers. (1st ed.). Bangkok: Rakluke Group.

Jandendaung, P. (2012). The Effects of Cooking Experience Provision on Sensory Ability of Preschool Children. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.

Khuntreejitranon, A. (2020). Food and Nutrition for Early Childhood. (1st ed.). Bangkok: Hispeed Laserprint.

Kovach, V. (2020). About P4C. Retrieved January 20, 2021, from https://www.p4c.org.nz/

Pakamas, D. (2011). Problem Solving Ability of Young Children Engaged in Thai Dessert Cooking Activities. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Prommul, J., Klerlhee, T., Pernyai, C., & Suwanwaiphatthana, W. (2018). Nuttritinal Status of Pre-School Children with Participation of Families and Communities in Muang Songkhla. Journal of The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 169-185.

Scott, A. (2017). 21st Century Skills Early Learning. Atlanta. Prophet 21. Retrieved January 20, 2021, from http://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_ELF_Framework_Final _20pgs.pdf

Seemawong, S. (2018). The Effect of Cooking Experience Provision on Sensory Ability of Preschool Children. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.

Singhasaem, P., Suwanwaha, S., & Sarakshetrin, A. (2017). Nutritional Promotion in Pre-School Children. Journal of The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 226-235.

Stone-MacDonald, A., Wendell, K., Douglass, A., & Mary Lu Love, M. (2015). Engaging Young Engineers: Teaching Problem Solving Skills Through STEM. Baltimore. Brookes Publisging. Retrieved January 20, 2021, from http://archive.brookespublishing.com/documents/Stone-MacDonald-Teachers-Model.pdf

Supvaree, S. (2009). The Effect of Cooking Activities on Young Children’s Mathematics Basic Skills. Kasetsart University. Bangkok.