สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบันมีข้อพึงตระหนักที่สำคัญคือ การพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพและการพัฒนากิจกรรมของคณะสงฆ์ที่สามารถส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสถานการณ์ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย และ 3) เสนอรูปแบบการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในคณะสงฆ์ไทย ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การศึกษาครั้งนี้จึงได้เก็บข้อมูลแบบผสมผสานจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์จำนวน 719 รูป ในพื้นที่ 8 จังหวัด โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 65 มีภาวะโภชนาการเกิน และเมื่อใช้แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพฉบับภาษาไทย (THLA-N) พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอ เพียงร้อยละ 21.2 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านเชิงนโยบาย และ 3) รูปแบบการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทยจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการทั้งจากคณะสงฆ์ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการพัฒนากิจกรรมร่วมกัน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Anuratpanich, L. et al. (2018). Health Literacy of elder monks in Priest Hospita. Veridian E Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(1) , 2643 –2656.
Bureau of Health for the Elderly, Department of Health, Ministry of Public Health. (2021). A manual for exploring the desirable health behaviors of monks. Bangkok: Ministry of Public Health.
Chitmanasak, N. (2013). Health promoting behaviors for priests. Phranakhon Rajabhat Research Journal: Science and Technolog, 3(3), 8-14.
Choeisuwan, V. (2017). Health Literacy: Concept and Application for Nursing Practice. Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3), 183-197.
Intarakamhang, U. (2017). Health Literacy: Measurement and Development. Bangkok: Sukhumvit Printing.
Larpthananon, P. (2014). Health Literacy of Monks in 2012. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation.
Nutbeam, D. (2008). The Evolving Concept of Health Literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-8.
Phatthalung, P. N., & Lerkiatbundit, S. (2019). Development of Thai Health Literacy Assessment Based on the Assessment of Ability to Use Nutrition Label. Thai Journal of Pharmacy Practice, 11(3), 659-677.
Priest Hospital. (2021). Annual Report 2020 Priest Hospital. Bangkok: Priest Hospital.
World Health Organization. Regional Office for the Western Pacific. (2000). The Asia-Pacific perspective: redefining obesity and its treatment. Sydney: Health Communications Australia.
Zarcadoolas, C., Pleasant, A., & Greer, D.S. (2005). Understanding Health Literacy: An Expanded Model. Retrieved 18 July 2019, from https://academic.oup.com/heapro/article/20/2/195/827483.