กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคและหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและด้านพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า หลักการและกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธีของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางกรุงเทพมหานครมีดังนี้คือ ให้คู่กรณีแสดงออกด้วยความสมัครใจและความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย มีการประนีประนอมผ่อนปรนให้แก่กันและการรักษาความลับของคู่กรณี โดยผู้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้องมีปัญญา ซื่อสัตย์ มีความเป็นกลาง มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีอคติ มองโลกในแง่ดี อดทน เป็นผู้ฟังที่ดี มีความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา วิริยะอุตสาหะ วางตัวได้อย่างเหมาะสม ให้เกียรติคู่กรณี มีทักษะในการสื่อสาร รวมไปถึงมีความรู้และประสบการณ์ในการไกล่เกลี่ย สามารถสร้างความไว้วางใจ ในขณะที่สภาพปัญหาและอุปสรรคกระบวนการไกล่¬เกลี่ยคดีข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปัญหาและอุปสรรคที่มีสาเหตุมาจากตัวคู่ความเองและมาจากตัวผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ส่วนรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพุทธศาสนาเถรวาทตามแนวทางพุทธสันติวิธีตามหลักอริยสัจ 4 มีลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์ให้เห็นทุกข์ 2) เจรจาด้วยปิยวาจา 3) มีเมตตา 4) ปราศจากอคติ และ 5) มุ่งสู่การให้อภัยซึ่งกันและกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akarathitipong, J. (2014). Documents for teaching staff relations management. Ayutthaya: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.

Kongdueng, T. (2008). Analysis and synthesis of Buddhist disputes mediation. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Office of the Court of Justice. (2021). Report on the statistics of court cases throughout the Kingdom for the year 2020. Bangkok: Office of the Courts of Justice.

Praditthakorn, W., Komsakorn, M., & Tontheerawong, B. (2013). The adoption of communication methods to enhance the mediation process of the mediator in the Court of Justice. Valayalongkorn Review Journal, 3(1), 17.

Saksaeng, K. (2014). Reconciliation justice and criminal dispute resolution the will of the constitution: A case study in court. (Master’s Thesis). Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi.

Sills, D. L. (1968). International encyclopedia of the social sciences. New York: The Macmillan.

Silpamahabandit, M. (2007). Conflict management council for dispute management and conciliation: An Introduction to dispute mediation. Bangkok: Thana Place.

Thammasak, N. (2006). The role of the court and the problem of mediating litigation disputes. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Thosuwanchinda, W. (2008). Complete negotiations. Bangkok: Technology Promotion Association (Thai-Japanese).

Tiansongjai, C. (2010). Buddhist mediator negotiations: Principles and tools for manage conflicts. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Wongnutararot, P. (1992). Psychology of personnel management. Bangkok: Bangkok Promotion Center.

Worakitsophonpaisan, W. (2009). Legal problems related to the mediation of civil disputes before submitting the case to the court. (Master’s Thesis). Sripatum University. Chonburi Campus.