การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารโรงเรียน แกนนำและโรงเรียนเครือข่ายการจัดการเรียนรวม จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ
เสริมทรัพย์ วรปัญญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารโรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนเครือข่ายการจัดการเรียนรวม ในจังหวัดลพบุรี และ 2) พัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารโรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนเครือข่ายการจัดการเรียนรวม ในจังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนเครือข่ายการจัดการเรียนรวม ในจังหวัดลพบุรี ปีการศึกษา 2563 รวม 22 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบ สโนว์บอล (Snow Ball ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้ามามีส่วนร่วมมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีตำแหน่งทางสังคม กลุ่มที่สมัครใจ (จิตอาสา) กลุ่มที่ถูกชักจูงหรือชักชวน และกลุ่มที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ มีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านนักเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ พบว่าการมีส่วนร่วมยังไม่มากนัก ในขณะที่ด้านสภาพแวดล้อม พบว่าส่วนใหญ่มีส่วนร่วม และ 2) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารโรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนเครือข่ายการจัดการเรียนรวม จังหวัดลพบุรี มี 2 แนวทางได้แก่ แนวทางที่หนึ่ง หน่วยงานต้นสังกัดต้องลดภาระงานของครูและผู้บริหารลง และ แนวทางที่สอง หน่วยงานต้นสังกัดต้องเร่งงบประมาณเพี่อพัฒนา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรวม ให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonprasert, U. (2003). School Based Management for School Administration. Bangkok: Book Centre and Academic Papers of the Faculty of Education, Chulalongkorn University.

Chollatanon, B. (2003). The manual of Inclusive Education by SEAT Project. Bangkok: Paetai Printing.

Chatrag, N. (2015) . The Development of Education Management in Cooperation of Basic Education Commission under Chaiyaphum Education service Area office 2. SSRU Graduate Studies Journal, 2(2), 119-131.

Faknud, S. ( 2016) . Guidelines for Participation of Basic Education Boards in the Administration of the Schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2. The 1st Rajabhat Nakhon Sawan Research Conference 2016. Nakhon Sawan: Rajabhat Nakhon Sawan University.

Kamphaengkaeo, K. (2004). A Study of Parental Participation In Education Management in Schools: A Case Study of Assumption School, Primary Department. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Kamonsin, (2015). Developing Guidelines for Educational Resource Sharing among Schools under The Office of Roi – et Educational Service Area 1. Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus, 4(1), 325-338.

Mangkang, P. (2006). The Training Curriculum Development on Community’s Participatory Building Strategies for Administrators in School Project Initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Office of the Basic Education Commission (2005).The manual of the Committee of Education. Bankok: Mat-piont.

Pakotang, J. (2006). Community Participation Model in Basic Educational Management of Outstanding Schools: kanthararom.school, Si Sa Ket Province. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chon Buri.

Sanwisad, P. ( 2012) . Community Participation in Basic Educational Management in The Primary Schools: A Grounded Theory Approach. SWU Educational Administration Journal, 9(1), 69-82.

The National Education Act of B.E 2542 and Amendments in B.E 2545 (2nd Edition) and Amendments in B.E 2553 (3rd Edition). (2010). Government Gazette. Retrieved July 6, 2020, from http://www.atg.go.th/law-03.html.

Vorapanya, S., & Pachanavon, A. (2019). The Policy into Practices for Inclusive Schools in LopBuri Province. (Research Report). Lop Buri: Tepsatri Rajbhat University Research Institute.

Wiboonrangsun, S. (2007). Developing Community Participation in Basic Educational Management Using the Participatory Evaluation Model. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.