การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด โดยใช้แนวคิดการนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมเสร้างสมรรถนะเกษตรกรปราดเปรื่อง

Main Article Content

นิลรำไพ ภัทรนนท์
ศศิฉาย ธนะมัย
กมลรัฐ อินทรทัศน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดฯ 2) สร้างบทเรียนออนไลน์ตามรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดฯ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเกษตรกรไทยจำนวน 280 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์แบบเปิดฯ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมิน ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดฯ ประกอบด้วย 4 ระยะ ระยะที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้เรียน การออกแบบวัตถุประสงค์ เนื้อหา แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ การคัดสรรที่เหมาะสม และการประเมินผล ระยะที่ 2 กระบวนการเรียน คือกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองและการเรียนรู้ร่วมกัน ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด การมีปฏิสัมพันธ์และการเรียนรู้ร่วมกัน การกำหนดกระบวนการให้ความช่วยเหลือ และการกำหนดรูปแบบการประเมินผล ระยะที่ 3 ผลผลิต คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียน และระยะที่ 4 ผลลัพธ์ คือสมรรถนะการเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง 2) ผลการสร้างบทเรียนออนไลน์ตามรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดฯ ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.94 และมีประสิทธิภาพ  ที่ระดับ 82.50/81.33 และ 3) ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดฯ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 90.36 และความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.09)


 

Article Details

How to Cite
ภัทรนนท์ น., ธนะมัย ศ. . ., & อินทรทัศน์ ก. . (2023). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด โดยใช้แนวคิดการนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมเสร้างสมรรถนะเกษตรกรปราดเปรื่อง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 439–452. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/253587
บท
บทความวิจัย

References

Altowairiki, N. (2013). Instructors' and Students' Experiences with Online Collaborative Learning in Higher Education. (Master’s Thesis). University of Calgary, Calgary. AB.

Barkley, E. F. et al. (2014). Collaborative Learning Techniques: A Handbook for College Faculty. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Candy, P.C. (1991). Sefe-Direction for lifelong learning. San Francisco: Jossey Bass.

Costa, L. A., & Kallick, B. (2004). Assessment Strategies for Self-Directed Learning. California: Sage Publication.

Culatta, R. (2018). ADDIE Model. Retrieved May 19, 2019, from http://www.instructional design.org/models/addie/

Elias, J. L., & Merriam, S. B. (1980). Philosophical Foundations of Adult Education. Journal of Adult and Continuing Education, 11(2), 213-214.

Hiemstra, R. (1997). Working with the Self-Directed Learner. Retrieved May 19, 2019, from https://roghiemstra.com/montreal.html

Intaratat, K. (2017). Knowledge and Skills of Community Communication. Bangkok: Sukhothai Thammatirat Open University.

Johnson, R. T., & Johnson, D. W. (1986). Action Research Cooperative Learning in the Science Classroom. Science and Children, 24, 31-32.

Knowles, M.S. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago: Follett Publishing Company.

Madsen, G. L. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. (Doctoral Dissertation). University of Georgia. USA.

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2017). Policy Driving Guidelines of Smart Farmer and Smart Officer. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Mohney. (2018). Student Perceptions of an Online Collaborative Landscape Design Project. Journal of North American Colleges and Teachers of Agriculture (NACTA), 55(1), 1-6.

Panich, W. (2012). The Ways to Create Learning for Students in the 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation.

Skager, R. W., & Dave, R. H. (1978). Lifelong Education and Evaluation Practice. New York: UNESCO Institute for Education, Hambury and Pergamon Press.

Stanley, L. E. (2015). A Qualitative Study of Instructional Design in Massive Open Online Courses (MOOCs). (Doctoral Dissertation). Capella University. USA.

Suwannatchot, N., & Sophonhiranrak, S. (2017). Internationally Recognized MOOC Teaching Standards and Practices. Bangkok: Thai Cyber University. Ministry of Agriculture and Cooperative.

Thai Cyber University. (2017). Development of Teaching and Learning with the System MOOC: Thai MOOC. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.