การศึกษาองค์ประกอบทักษะปฏิบัติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะปฏิบัติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบการ ด้วยการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร และประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ได้แก่ เจ้าของสถานประกอบการ 4 คน ครูผู้สอน 3 คน เป็นบุคลากรของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ด้านการเรียนการสอนวิชาชีพร่วมกับสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบประมาณค่า 5 ระดับ
ผลการศึกษา พบว่า ทักษะปฏิบัติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบการ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทักษะด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย สามารถอ่าน ปฏิบัติ และเลือกใช้อุปกรณ์ตามาตรฐานความปลอดภัย สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถจัดสถานที่ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และสามารถประเมินความพร้อมของสุขภาพก่อนเริ่มการปฏิบัติงานได้ มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก 2) ทักษะการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ถูกต้อง สามารถถอด ประกอบชิ้นงานตามขั้นตอน สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องของงาน สามารถส่งมอบงาน บำรุงรักษาเครื่องมือและสถานที่ปฏิบัติงาน มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย สามารถรวบรวมปัญหาและสาเหตุของปัญหาในการปฏิบัติงานได้ สามารถสร้างทางเลือกที่จะแก้ปัญหา สามารถตัดสินใจแก้ไขด้วยหลักการที่ถูกต้อง สามารถเสนอความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และทักษะ มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก และ 4) ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สามารถสืบค้นข้อมูลและความรู้ และติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สามารถจัดเก็บและส่งข้อมูลในงานวิชาชีพด้วยคอมพิวเตอร์ได้ สามารถนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์ได้ และมีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Jantori, P. (2012). Dual System Study – the Solution of Thai Labor Crisis. Journal of Business Administration, 35(135). 29 – 39.
Likert, R. (1976). New Patterns of Management. New York: McGraw – Hill.
Military Technical Training School. (2016). Vocational Certificate Curriculum (2016). Retrieved June 10, 2021, from http://mtts.ac.th/entrance2564/entranceindex.html
Ministry of Education. (2019). Education Plan (2017 - 2037). Retrieved June 10, 2021, https://www.moe.go.th/
Niyomthai, S. (2010). Development of a Blended Vocational Instruction Model Using Project Based Learning in the Workplace to Develop Performance and Problem – Solving Skills for Industrial Vocational Certificate Students.(Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.
Office of Civil Service Commission. (2008). Occupation Standard. Retrieved June 10, 2021, from https://www.ocsc.go.th/
Office of the Nation Economic and Social Development Council. (2017). Economic and Social Development Plan 12 (2017 – 2022). (1st ed.). Bangkok: Office of the Nation Economic and Social Development Council.
Office of the Nation Economic and Social Development Council. (2017). Summary Report on the Implement of the National Strategy 2021. Retrieved June 15, 2021, from http://nscr.nesdc.go.th/
Office of Skill standard and Test Development. (2004). Occupation Standard. Retrieved June 15, 2021, from http://www.dsd.go.th/standard
Office of the Vocational Education Commission. (2019). Vocational Certificate Curriculum (2019). (1st ed.). Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.
Praphaphat, T. (2011). Development of an Industrial Professional Experience Training Program for Students of Industrial Technology Rajamangala University of Technology. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Nakornphatom.
Phuphamornpob, K. (2021). MIAP Instruction for Learning Management on Vocational Education. Journal for Research and Innovation Institute of Vocation Education Bangkok, 2(2), 14 - 21.
Sawadee, W. (2010). An Instruction Management Strategy of Vocational Industrial Education as Relevant to the Entrepreneurs’ Needs. Heritage Journal, 3(1), 148 - 156.
Sophapit, R. (2010). The Development of the Experience Readiness Preparation Model for Tourism Management Students. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Nakornphatom.
Sricana, P. (2018). The Development of Quality Private Vocation College Students Model in the 21st Century. (Doctoral Dissertation). Rajamangala Mahasarakham University. Mahasarakham.
Srisa-ad, B. (2011). Basic Research. (9th ed.). Bangkok: Suweeriyasart.
Thianboocha, A. (2009). The Development of Key Competencies in Preparing Employees for Workplace. (Doctoral Dissertation). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Thailand Professional Qualification Institute. (2020). Occupation Standard and Professional Qualification. Retrieved June 9, 2021, https://www.tpqi.go.th/qualification.php