การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ปรากฎในอัคคัญญสูตร

Main Article Content

ณรงค์วรรษ บุญมา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ปรากฏในอัคคัญญสูตร โดยการวิจัยเชิงเอกสาร แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในอัคคัญญสูตร เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์ข้อมูลตามหลักอริยสัจจ์ 4 และ อิทัปปัจจยตา และ 4) สรุปและนำเสนอผลเชิงพรรณนาตามวัตถุประสงค์การวิจัย


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ปรากฏในอัคคัญญสูตรนั้น มี 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยภายนอก คือ อาหาร และความแตกต่างทางเพศของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม อาหารเป็นสิ่งเร้าภายนอกอันเป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ อาหารกับกายภาพของมนุษย์มีความสัมพันธ์กัน 2) ปัจจัยภายใน คือ อวิชชาที่แทรกซึมอยู่ในจิตของมนุษย์ปุถุชน อันมีคุณสมบัติปกปิดความจริงแท้ตามธรรมชาติ พร้อมจะแสดงตัวออกมาทุกเมื่อในยามจิตอ่อนกำลังลง ปัจจัยภายนอกทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้าให้ปัจจัยภายในตื่นขึ้นและสนองตอบ การสนองตอบของอวิชชาที่เป็นปัจจัยภายในต่อสิ่งเร้าได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทันทีอย่างไม่รอช้า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากอาหารและอวิชชาได้เปลี่ยนจากสังคมทิพย์มาเป็นสังคมปฏิบัติการ ทุกอย่างต้องลงมือทำเท่านั้นจึงจะสำเร็จได้ อาหารและอวิชชาสมประโยชน์กันในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตลอดเรื่องราวที่ปรากฎในอัคคัญญสูตร และ แนวทางในการแก้ปัญหาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาสภาพสังคมปัจจุบันนั้น ได้แก่ 1) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น คนในสังคมนั้นๆ ต้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อแสวงหาทางออก 2) คนในสังคมนั้นๆ ต้องสร้างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันเอง และ 3) คนในสังคมนั้นๆ ทุกคนต้องตระหนักและปฏิบัติตามหลักศีลธรรมจรรยาอย่างเคร่งครัดเพื่อผาสุกของสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bankok: MCU Press.

Maslow, A. (1970). Human Needs Theory: Maslow’s Hierarchy of Human Needs. In R. F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.

National Food Board Act, B.E. 2551. (2008). Government Gazette. Bangkok: Office.

Phra Ratchaworamuni. (1984). Buddhism and Modern Thai Society. Bangkok: Komol Kiemthong Foundation.

Phra Wichai Phonok. (2007). The Impact of the Buddhist Concept of Avijja in Suttanta Pitaka on Problems and the Way to Problem-Solving in Thai Society. (Master’s Thesis). Graduate School, Dhonburi Rajabhat University. Bangkok.

Phramaha Chaluay Singgam. (2003). Analytical Study of Avijja in Theravada Buddhism. Master’s Thesis. Graduate school, Chiang Mai University. Chiang Mai.

Phraphromkunaporn (P. A. Payutto). (2008). Buddhist Dictionary Vocabulary Version. (11th ed.). Bangkok: SR Printing Mass Products.

United Nations. (2016). The Sustainable Development Goals Report 2016. New York: United States.