อรรถศาสตร์ปริชานของคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ธีรารัตน์ จับใจนาย
อรทัย ชินอัครพงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเภททางความหมายของคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน 2) เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่สะท้อนจากการใช้คำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้เครื่องมือโดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือ จำนวน 3 ท่าน การร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยใช้รูปภาพสัตว์และชื่อสัตว์ จำนวน 200 คำ นำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเภททางความหมายของคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน พบว่า ประเภทความหมายเชิงนามนัยมากที่สุด ร้อยละ 61 รองลงมาเป็น ความหมายเฉพาะ ร้อยละ 33.50 และความหมายเชิงอุปลักษณ์ ร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ความหมาย  เชิงนามนัย พบปรากฏความหมายที่แสดงถึงคุณสมบัติเด่นของคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือ จำนวน  16 ด้าน คือ 1. ลักษณะอาการ 2. สี 3. รส 4. กลิ่น 5. โรค 6. เพศสภาพ 7. ลวดลาย 8. จำนวน 9. เสียง  10. น้ำหนัก 11. สถานที่ 12.การต่อสู้ 13. ความรัก 14. อุปกรณ์เครื่องใช้ 15. ความกลัว และ 16. สภาพผิว ความหมายเฉพาะ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือความหมายตามรูปลักษณะและตามคุณสมบัติ ส่วนความหมายเชิงอุปลักษณ์ พบว่า ปรากฏ 8 ประเภท ได้แก่ 1. วัตถุสิ่งของ 2. คนและอวัยวะคน 3. พืช 4. พฤติกรรม/กิริยาอาการของคนหรือสัตว์ 5. อาหาร/รสชาติ 6. ภูตผี/สิ่งที่จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้ 7. การเคลื่อนไหว และ          8. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ 2) มโนทัศน์ที่สะท้อนจากการใช้คำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน พบว่า รูปภาษาที่ใช้อุปลักษณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางมโนทัศน์หรือแนวคิดของผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาชาติพันธุ์ ธรรมชาติ ค่านิยม วิถีชีวิต ความเชื่อ อัตลักษณ์ความเป็นเจ้าของภาษา วัฒนธรรมและสังคม รวมถึงคุณสมบัติด้านต่างๆ ของความหมายแต่ละประเภทของคนไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงราย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kabkorn, P. (1980). Language and Thought. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Lakoff, G. (1987). Women, Fire, and Dangerous Thing: What Categories Reveal about the Mind. Chicago: Chicago Press.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphor We Live by. Chicago: University of Chicago Press.

Prasitratsin, A. (2013). Social Linguistics. (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Singnoi, U. (2014). Thai Folk Style Name Linguistic Studies Ethnobotany. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sosodthikun, R. (2007). English Proverb - Thai Teaching with a Similar Meaning. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sweetser, E. (1990). From Etymology to Pragmatics: Metaphorical and Cultural Aspects of Semantics Structure. California: Cambridge University Press.

Wongwattana, U. (2018). Identity, Wisdom, and Inheritance of the Tai Yai Ethnic Language In the Lower Northern Region. Phitsanulok: Naresuan University Press.

Wongwattana, U. (2016). Word Compounding in Tai Dam: A Reflection of People World Views and Culture. Humanities Journal, 12, 43-47.