การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้บริบทเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ประมุข จันทวิ
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้บริบทเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ในโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 คน และใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้และชิ้นงาน และแบบสำรวจทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าด้านแหล่งข้อมูล และด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า


1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ โดยการกระตุ้นความรู้เดิมและเชื่อมโยงความสัมพันธ์สถานการณ์รอบๆ ตัว 2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยให้นักเรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง 3) การนําความรู้ไปใช้ นักเรียนจะเชื่อมโยงความรู้ และประสบการณ์ในชีวิตจริงของนักเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหา 4) การร่วมมือ การมีส่วนร่วมกิจกรรมกลุ่มในการสร้างชิ้นงาน และ 5) การถ่ายโอนความรู้ไปยังบริบทอื่น เป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้อย่างหลากหลายในบริบทใหม่ๆ ซึ่งมีประเด็นที่ควรเน้น คือ ผู้สอนต้องเลือกใช้ปัญหาจากสถานการณ์ที่นักเรียนคุ้นเคยและมีความเกี่ยวข้องกับบริบทในชีวิตจริงของนักเรียน มีข้อคำถามกระตุ้นการคิดและมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง


2) นักเรียนมีพัฒนาการของทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยสามารถเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับคณิตศาสตร์ (การเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ องค์ความรู้หรือกระบวนการภายในคณิตศาสตร์) คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน (การเชื่อมโยงความรู้ กระบวนการทางคณิตศาสตร์กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจําวัน) และคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น (การเชื่อมโยงความรู้หรือ กระบวนการทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน) ได้ดีเรียงตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bonwell, C.C. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Digest. Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.

Boonmaton, R. (2017). The Development of Grade 11 Student's Mathematical Literacy on Probility Using Context-Based Learning. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 29(2), 51-61.

Bureau of Educational Testing, Office of the Basic Education Commission. (2018). National Test: NT School Year of 2018. Retrieved April 30, 2019, from http://180.180.244.48/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExamWeb%2f

______. (2019). National Test: NT school year of 2019. Retrieved April 30, 2020, from http://180.180.244.48/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExamWeb%2f

Crawford, M.L. (2001). Teaching Contextually: Research, Rationale and Techniques for Improving Student Motivation and Achievement in Mathematics and Science. Texas: CCI Publishing.

Ingram, N. et al. (2019). Exploring an Innovative Approach to Teaching Mathematics Through the Use of Challenging Tasks: A New Zealand Perspective. Mathematics Education Research Journal, 32, 497-522.

Jairean, J. (2016). Using Questions to Promote Mathematical Connection Skills of Grade 11 Students. Proceedings of the 22nd Annual Meeting in Mathematics (AMM 2017) (pp. EDM-05-1-10). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Kaewsaensai, K. (2020). Development of Context-Based Learning Guideline in the Topic Probability of Grade 10 Students. (Master’s Thesis). Naresuan University. Phitsanulok.

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (2000). Participatory Action Research. In N. Denzin & Y. Lincoln (Eds.), Handbook of Qualitative Research. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Makanong, A. (2010). Mathematical Skills and Processes: Development for Development. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Ministry of Education, Department of Curriculum, and Instruction Development. (2017). Indicators and Learning Areas of Mathematics (Revised Edition 2017) According the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Rithikup, W. (2018). Community-Based Learning: Effective Pedagogy Strategies for Teachers in the 21st Century. Graduate School Journal, 11(3), 179-191.

Supa, W., & Poonpaiboonpipat, W. (2020). The Development of Learning Implementation Based on Context-Based Learning Approach in Surface Area and Volume Topic to Enhance Mathematical Representations for Grade-9 Students. Journal of Science and Science Education, 3(2), 143-154.

Tangkawsakul, S. (2017). Development Mathematical Activity Package by Using Context Based Approach and Mathematical Modeling to Enhance Mathematical Connection Ability and Attitude towards Mathematic of Ninth Students. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Tibpaeng, R. (2018). An Action Research for Developing Learning Management by Using Context-Based Learning in Ratio and Percentage that Promotes Mathematical Connection Ability for Tribesman Students in Grade 8. (Master’s Thesis). Naresuan University. Phitsanulok.