ถอดบทเรียนชุมชนสันติสุขในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดนราธิวาสและนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อภิญญา ดิสสะมาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ทราบถึงสันติวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนกรณีศึกษา 2) เพื่อเพื่อให้เห็นถึงแนวทางการอยู่ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรมอันนำมาสู่ชุมชนสันติสุขในพื้นที่ชุมชนกรณีศึกษา และ 3) เพื่อรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิดสันติวัฒนธรรม แนวคิดพหุวัฒนธรรม และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยเป็นกรอบในการวิจัยโดยพื้นที่วิจัย คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยคือ.จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสัมมนาระดมสมอง 3) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) คือ พื้นที่ชุมชนชุมชนบ้านแหลม – บ้านหน้าทัพ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ชุมชนเจ๊ะเหมีองค์ประกอบเรื่องของสันติวัฒนธรรมในชุมชน คือมีการพึ่งพาอาศัยกัน มีการรวมกันอยู่ในอาณาเขตและภายใต้กฎหมายหรือบังคับเดียวกัน มีจิตสานึกที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) พบว่า ชุมชนบ้านแหลม-บ้านหน้าทัพ และชุมชนเจ๊ะเห อำเภอตากใบ นั้น อยู่ท่ามกลางความแตกต่างระหว่างสองศาสนาคือ พุทธและอิสลาม แต่อย่างไรทั้งผู้คนในชุมชนสองศาสนามีวิถีคิดและวิถีปฏิบัติในการเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันทั้งที่เป็นรูปแบบโครงการกิจกรรมร่วมกันและวิถีชีวิต และ 3) พบว่า รูปแบบการไกล่เกลี่ยเพื่อลดความขัดแย้งในสังคมของทั้งสองชุมชน มีผู้ไกล่เกลี่ยโดยธรรมชาติของกลุ่ม เช่นผู้นำศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและในรูปแบบของคณะกรรมการไกล่เกลี่ยประจำชุมชนท้องถิ่นและจังหวัดเป็นกลไกที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abdi, & Mason (2019) . Mediation and Governance in Fragile Contexts: Small Steps to Peace. Colorado: Lynne Rienner Publishers.

Coleman, J. S. (1988). Social Capital in the Creation of Human Capital. In Social Capital: A Multifaceted Perspectives. Dasgupta, P. and Serageldin, I. eds. Washington D.C.: World Bank.

De Rivera, J. (2004). Assessing cultures of peace. Peace and Conflict: Journal of Peace Psychology, 10(2), 95–100. https://doi.org/10.1207/s15327949pac1002_1.

Eriksen, & Hylland, T. (1997). Multiculturalism, individualism and human rights: Romanticism, Enlightenment and lesson from Mauritas. In Human Rights, Culture and Context. London: Pluto.

Forester, J. (2009). Dealing with Differences: Dramas of Mediating Public Disputes. Oxford University Press. New York.

Phra Medhidhammaporn (Prayoon Mererk). (1994). Buddhist Morality. Bangkok: MCU Press.

Putnam, R. D. (1993). The prosperous Community: Social Capital and Public Life. Retrieved May 8, 2012, from http://www.philia.ca

Rex, John, & Singh, Gurharpal. (2003). Pluralism and Multiculturalism in Colonial and Post-Colonial Society – Thematic Introduction. In International Journal on Multicultural Societies (IJMS), 5(2),106 -118.

Sethamalinee, S. (2016). Peacebuilding in Multiculturalism in Religious and Ethnicity: case study in Muslim community in Northern of Thailand. Office of Science, Research and Innovation Promotion. Bangkok.

Symonides, J, & Singh, K. (1996). From a Culture of Violence to a culture of peace, Peace and Conflict Issues Series. Paris: UNESCO Publishing.

World Bank. (2002). What is Social Capital.Retrieved May 8, 2021, from http://www.worldbank.org