ความสัมพันธ์ของสหวิทยาการกับการศึกษาทั่วไป: ข้อวิเคราะห์เชิงปรัชญา

Main Article Content

ยุทธศิลป์ อร่ามศรี

บทคัดย่อ

สหวิทยาการและการศึกษาทั่วไปเป็นสองคำใหญ่โต ซึ่งทั่วไปเชื่อกันว่าการศึกษาทั่วไปจะต้องจัดการศึกษาแบบสหวิทยาการ หรือกล่าวอีกแบบคือการศึกษาทั่วไปประกอบด้วยสหวิทยาการ บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสหวิทยาการและการศึกษาทั่วไปผ่านมุมมองทางปรัชญา โดยนิยามสหวิทยาการตามทัศนะของวิลเลียม เอ็ช นิวเวลล์และการศึกษาทั่วไปตามทัศนะของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ผลการวิเคราะห์ที่ได้ 1) สหวิทยาการเป็นแนวทางการศึกษาเชิงบูรณาการที่ใช้มุมมองจากสาขาวิชาต่างๆ มาศึกษาปัญหาของระบบซับซ้อน 2) การศึกษาทั่วไปเป็นการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณลักษณะของบัณฑิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือการศึกษาเพื่อยุคสมัยซึ่งเป็นการสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่เหมาะสมกับยุคสมัยและการศึกษาที่เหนือยุคสมัยซึ่งเป็นการสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่ไม่เกี่ยวกับยุคสมัยอันได้แก่ความเป็นมนุษย์และการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 3) สหวิทยาการไม่ได้เป็นองค์ประกอบของการศึกษาทั่วไป หากแต่ความสัมพันธ์ของสองมโนทัศน์นี้เป็นไปในแบบซ้อนทับกันบางส่วน กล่าวคือการศึกษาทั่วไปบางส่วนซ้อนทับกับสหวิทยาการและอีกส่วนไม่ได้ซ้อนทับกับสหวิทยาการ ส่วนที่ซ้อนทับกันคือการสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่เหมาะสมกับยุคสมัย และส่วนที่ไม่ซ้อนทับกันคือการศึกษาเหนือยุคสมัยของการศึกษาทั่วไปเพราะสหวิทยาการเป็นมโนทัศน์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาของระบบซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แต่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคุณสมบัติของบัณฑิตที่ไม่ขึ้นกับยุคสมัย แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปแต่บัณฑิตก็ยังควรเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เช่นเดิม ผลการวิเคราะห์ของบทความนี้สามารถให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษาทั่วไปได้ว่าการจัดการศึกษาแบบการศึกษาทั่วไปไม่จำเป็นต้องจัดแบบสหวิทยาการเสมอไป หากแต่ควรจัดให้สมดุลกันระหว่างการศึกษาเพื่อยุคสมัยกับการศึกษาที่เหนือยุคสมัย และไม่ควรลดทอนคุณค่าของการสร้างและบ่มเพาะความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของการศึกษาเหนือยุคสมัยเพียงเพราะไม่ตอบสนองยุคโลกาภิวัฒน์หรือใช้สหวิทยาการศึกษาไม่ได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Buosonte, R. (2016). Non-Boundary Research Method. Ratchaphruek Journal, 13(1), 1-5.

Charoenmuang, T. (2004). Thailand: A late Decentralizing Country. King Prajadhipok’s Institute Journal, 2(1), 1-16.

Chokvasin, T. (2011). Interdisciplinary in General Education. In General Education Conference. 12-25. June 18-20, 2014, Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok. Bangkok: Thai GE Network.

Department of Philosophy. (2016). Reasoning: Practical Logic. Bangkok: Chulalongkorn University press.

Lucktong, A., Thavara, W., & Vasutapitak, P. (2018). Expanding General Education Beyond the University to the Workplace a Case Study: A Course on Reflective. Journal Writing for self-improvement. 420-435. March 26, 2018, Walailak University. Nakhonsithammarat: Walailak University.

Newell, W. H. (2001). A Theory of Interdisciplinary Studies. Issues in Integrative Studies, 19, 1-25.

Newell, W. H. (2006). Interdisciplinary Integration by Undergraduates. Issues in Integrative Studies, 24, 89-111.

Numnak, N., Khomsod, S., & Janyasuthiwong, S. (2021). Path of General Education Instructors. In Paitoon Sinlarat and Siphen Suphaphithayakun (Ed.). To Being One's Own: Awareness and Conscience of General Education Instructor. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2009). General Education for Human Development. Bangkok: General Education Administration Center.

Repko, A. F. (2012). Interdisciplinary Research: Process and Theory. Los Angeles: Sage.

Sinlarat, P. (2019). General Education Curriculum: Principles and Process. Bangkok: Chulalongkorn University press.

Singsuriya, P. (2012). Ethical Studies Curriculum in USA. Interdisciplinary Journal, 10(2), 37-72.

Supanatsetakul, N. (2013). Interdisciplinary Studies: Humanities, Social Sciences and Medicine for Applying in the Medical Instruction. Thammasat Medical Journal, 13(3), 380-392.

Tanner, M. (2019). William H. Newell (2003). Retrieved June 3, 2021, from: https://interdiscip linarystudies.org/william-h-newell-2003.

Thamrongthanyawong, S. (2016). Interdisciplinary Study for Development. SuratthaniRajabhat Journal, 3(1), 35-46.

Wongyannava, T. (2013). History and Interdisciplinary: It Cannot Compatible. In Anuk Pitukthanin (Ed.). Romantic Man. Bangkok: Siamparitut Publishing.