รูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ของชุมชนชายแดนไทย - ลาว

Main Article Content

วิระกิต สิงห์คง
จุฑามาส ชมผา
กิติรัตน์ สีหบัณฑ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย – ลาว 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชนชายแดนไทย – ลาว และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชนชายแดนไทย – ลาว เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย สมาชิกชุมชนชายแดนไทย – ลาว จำนวน 337 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย – ลาว อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.32 2. รูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 2.1) ด้านผู้นำชุมชน โดยการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง และการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 2.2) ด้านทรัพยากรบุคคล โดยการพัฒนาความรู้ความสามารถ การพึ่งพาตนเอง การรวมกลุ่ม การปฺฎิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการมีคุณธรรมจริยธรรม 2.3) ด้านสังคม วัฒนธรรมและสาธารณูปโภค โดยการพัฒนาการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม การสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค 2.4) ด้านการมีส่วนร่วมและการส่งเสริมจากภาคีเครือข่าย โดยการพัฒนาการมีส่วนร่วมอย่างเป็นกระบวนการ การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายและประเทศเพื่อนบ้าน และการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย 2.5) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว การอนุรักษ์ และการกำหนดมาตรการป้องกัน 3. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สิงห์คง ว., ชมผา จ. ., & สีหบัณฑ์ ก. . (2022). รูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ของชุมชนชายแดนไทย - ลาว. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2458–2470. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/252731
บท
บทความวิจัย

References

Barisri, J. (2017). The Strengthening Local Community Process of the Sufficiency Economy Village Model: A Case Study of Ban Kut Khae Na Ngam, Selaphum District, Roi Et Province. (Master’s Thesis). Rajabhat Roi Et University. Roi Et.

Boonvon, S. (2017). The Social Capital Management of Strong Community in Buriram Province. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chon Buri.

Community Development Department. (2001). Village Fund Management Manual. Bangkok: Community Development Department.

Community Development Department. (2008). Development of Community Plans. Bangkok: Community Development Department.

Community Development Department. (2011). Civil Self-Reliant Community Concept. Bangkok: Community Development Department.

Khamman, S. et al. (2008). Towards Effective Growth Quality and Sustainability. Bangkok: Thailand Development Research Institute.

Khammek, S. (2018). Guidelines for the using Utilization of Social Capital and the Development of Sustainable Community-Based an Elderly Welfare Fund Nachaliang Municipality, Nongphai District, Petchaboon Province. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(29), 172-181.

Nahapiet, J., & Ghoshal, S. (1998). Social Capital, Intellectual Capital and the Organizational Advantage. Academy of Management Review, 23(4), 242-266.

Nuallaong, M. (2016). Administration of Social Capital for Community Development in Kuiburi District, Prachuap Khiri Khan Province. (Master’s Thesis). Rajabhat Phetchaburi University. Phetchaburi.

Pak Dee Kasikorn, K. (2020). Social Development and Human Security Ubon Ratchathani Province. Interview. March 20, 2020.

Pho Wichit, J. (2017). Guidelines for Building a Strong Community Based on the Philosophy of Sufficiency Economy for Sustainable Development: A Case Study of Nong Thale Subdistrict, Mueang District, Krabi Province. Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education.

Putnam, R. D. (1995). Bowling Alone: America’s Declining Social Capital. Journal of Democracy, 6(3), 65-78.

Rasri, W. (2017). A Model Strengthening Communities: A Case Study Ban Nong Saeng Khao Phranon District Amphoe Yang Talat Kalasin Province. (Master’s Thesis). Rajabhat Maha Sarakham University. Maha Sarakham.

Sri-amphai, P. (2008). The Strength of Communitization of Mae Khapeang Village, Saluang Sub-District, Mae Rim District, Chiang Mai Province. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Wasi, P. (2007). Knowledge Management the Process of Human Liberation to Potential, Freedom and Happiness. Bangkok: Green Panyayan Publishing.