วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของประเพณี มหาสังฆทาน เพื่อการเสริมสร้าง สังคมสันติสุข: กรณีศึกษา ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สุริสา แก้วสมชาติ
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท ความหมายและความเป็นมาของประเพณีมหาสังฆทานของ ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิดว่าด้วยมหาสังฆทานในพระพุทธศาสนาเถรวาทและสังคมไทย และ 3) วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของประเพณีมหาสังฆทาน เพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์ จากผู้นำศาสนา นักวิชาการ ผู้นำชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบท ความหมายและความเป็นมาของประเพณีมหาสังฆทานของ ตำบลสวาย พบว่า สภาพพื้นที่ทั่วไป ตําบลสวาย มี 10 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 4,076 คน ชาย 2,027 คน หญิง 2,098 คนต่างชาติพันธุ์ มหาสังฆทานเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2556 วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน จัดงานช่วงเข้าพรรษา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน คณะสงฆ์ อบต. ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน การจัดครบทุกวัด จึงเรียกว่าประเพณีมหาสังฆทาน 2) หลักการ แนวคิดว่าด้วยประเพณีมหาสังฆทานในพระพุทธศาสนาเถรวาทและสังคมไทย พบว่า การให้ทานมี 2 ประเภทคือปาฏิปุคคลิกทาน การให้แบบเจาะจงบุคคล และสังฆทาน การถวายทานไม่เจาะจงบุคคล เป็นการให้แก่สงฆ์หมู่ใหญ่ จะมีผลอานิสงส์มาก ปาฏิบุคลิกทาน ให้ทานคือ ความช่วยเหลือ แบ่งปันและ เพื่อลดความตระหนี่ การให้ทานอยู่คู่กับสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน 3) คุณค่าและความสำคัญของประเพณีมหาสังฆทาน เพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า สร้างความสามัคคีในชุมชน อนุรักษ์ประเพณี วัดเป็นศูนย์กลาง ละกิเลส มีความเสมอภาคการจัดงานครบทุกวัด

Article Details

How to Cite
แก้วสมชาติ ส., & วชิรปญฺโญ พ. (2021). วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของประเพณี มหาสังฆทาน เพื่อการเสริมสร้าง สังคมสันติสุข: กรณีศึกษา ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1227–1239. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/252297
บท
บทความวิจัย

References

Attapat & board. (1998). Principles of life in society. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Sawai Subdistrict Administrative Organization. (2020). District Information Search. Retrieved January 25, 2020, from http://tambonsawai.go.th/public/texteditor/data/index/menu/237.

Chimpinit, M. (2021). Headman Moo 5, Sawai Sub-district. Interview. January, 25.

Phra Promkhunaporn. (P.A.Payutto). (2003). Dictionary of Buddhism. (12th ed.) Bangkok: Saha Thamik.

Dharma supplies. D. (2015). What is the difference between making merit "and" making alms"? Retrieved May 24, 2021, from https://www.facebook.com/74492

Phra Maha Hansa Dhammaso. (2011). Peaceful Buddhism: Integrating principles and management tools Conflict. Bangkok:21 Century Company Limited.

Phrakru Phisaipariyatkit (Kaen Akkwan Mano). (2010). An Analytical Study of Buddhist giving culture in Thai society. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakru Wannasarnsophonwanno (Archachat). (2011) Parish Priest Sawai Subdistrict. Interview. January, 25.

Srilert, S. (2021). Official Retire, Sawai Sub-district. Interview. January, 25.