การจัดการปัญหาขยะโดยคนในชุมชนตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

ชัยณรงค์ ขาวเงิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาขยะโดยคนในชุมชน ต.สระกระโจม อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี และ 2) เสนอแนวทางจัดการปัญหาขยะโดยคนในชุมชนตามแนวพุทธจิตวิทยา การวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ต.สระกระโจม อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี จำนวน 22 คน วิเคราะห์และนําเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาขยะโดยคนในชุมชน ต.สระกระโจม อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ประกอบด้วย หลักการบริโภคอย่างมีสติ หลักการดำเนินชีวิตโดยมีสัมมาสติ และการปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิผล ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเน้นให้ผู้ผลิตหรือผู้บริโภคพยายามผลิตหรือบริโภคอย่างมีสติ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของรายได้หรือทรัพยากรเท่าที่มีอยู่เป็นอันดับแรก ในขณะที่สัมมาสติจะช่วยให้คนสามารถดำเนินการเช่นนั้นต่อไปได้ หลักการดังกล่าวจะส่งเสริมให้คนลดความต้องการสิ่งที่ไม่จำเป็น ลดการสร้างขยะ และเพิ่มความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ 2) แนวทางจัดการปัญหาขยะโดยคนในชุมชนตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย (1) การบริโภคอย่างมีสติ (2) การดำเนินชีวิตโดยมีสัมมาสติ และ (3) การปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบเป็นปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่นำไปสู่การจัดการขยะตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียนและการปรับรูปแบบการจัดการขยะโดยคนในชุมชน กรอบแนวทางนี้ จะช่วยให้ชุมชนจัดการปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่การสร้างการรับรู้และการสร้างความรู้ความเข้าใจ ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาขยะ ผลกระทบ และสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อตนเองและชุมชน ที่สำคัญคือ กรอบแนวทางนี้ มีแรงส่งเสริมจากความรู้และคุณธรรม จึงสามารถนำไปสู่การจัดการขยะได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ขาวเงิน ช. . (2021). การจัดการปัญหาขยะโดยคนในชุมชนตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1240–1250. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/252045
บท
บทความวิจัย

References

Arundeea, S., & Thiphoom, S. (2015). The solid waste management according to sufficiency economy philosophy of the personal characteristics at Phra-Yot-Mueangy Fort, Nakhon Phaom province, Thailand. Procedia Social and Behavioral Sciences, 197(2015), 1107–1112.

Kansuntisukmongkol, K. (2017). Philosophy of sufficiency economy for community-based adaptation to climate change: Lessons learned from Thai casestudies. Kasetsart Journal of Social Sciences, 38(1), 56-61.

Kaza, S. et al. (2018). What a waste 2.0: A global snapshot of solid waste management to 2050. Washington, DC: World Bank.

Pollution Control Department. (2018). Plastic Management Roadmap (2018-2030). Retrieved December 22, 2020, from http://pcd.go.th/Info_serv/File/Plastic%20Roadmap.pdf

CP E-News. (2020). When your leftover turns into the world crisis. Retrieved January 20, 2021, from http://www.cp-enews.com/news/details/cpworld/3889

The Secretariat of The House of Representatives. (2019). Circular Economy. Retrieved December 25, 2020, from https://library2.parliament.go.th/ebook/contentissue/2562/hi2562-010.pdf

National Geographic (Thai). (2020). Circular Economy: Can zero waste be achieved?. Retrieved January 15, 2021, from https://ngthai.com/sustainability/28875/circulareconomy-end-of-trash/

Pollution Control Department. (2016). Waste Master Plan (2016-2021). Retrieved December 15, 2020, from https://infotrash.deqp.go.th/infotrash/?p=6577

SCP Committee. (1974). Sustainable Consumption and Production Roadmap 2017-2036. Retrieved December 15, 2020, from https://www.switchasia.eu/site/assets/files/2168/th_scp-roadmap-final-version-19-oct-2017_thai.pdf

Markrtee. (2019). Can waste become!anything else?. Retrieved December 20, 2020, from https://marketeeronline.co/archives/117912

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2016). Buddhist Economics. Nakhonpathom: Wat Nyanavesakavan.

Thairath Online. (2020). The power of cooperation actualizes zero-waste society: The start of circular economy of Thailand. Retrieved January 12, 2021, from https://www.thairath. co.th/business/economics/1970606