ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กนกวรรณ อังกสิทธิ์
อภิชาต ไตรแสง
เฉลิมชัย ปัญญาดี
สมคิด แก้วทิพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีคุณสมบัติสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่มีความพิการทั้งทางกายและทางจิต จํานวน 388 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการพึ่งพาตนเอง และปัจจัยด้านความสัมพันธ์สังคม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.64) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านทักษะการตัดสินใจ ด้านการเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ การจัดการสุขภาพตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ และการสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ตามลำดับ


2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมพบว่า ปัจจัยเพศ อายุ รายได้ ปัจจัยด้านการพึ่งพาตนเอง และปัจจัยความสัมพันธ์ทางสังคม ร่วมกันอธิบายความผันแปรของความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาพรวมได้ร้อยละ 45.3 (F= 44.879 P<0.05 R2= 0.453)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Baker, W. et al. (2007). Health Literacy and Mortality among Elderly Persons. Arch Intern Med, 167(14), 1503-1509.

Boonsatean, W., & Reantippayasakul, O. (2020). Health Literacy: Situation and Impacts on Health Status of the Older Adults. APHEIT Journal of Nursing and Health, 2(1), 1-19.

Health Insurance System Research Office. (2015). Thai Health Insurance. Retrieved March 3, 2021, from https://madlab.cpe.ku.ac.th/TR2/?nameID=290432

Kamkum, N. (2019). A Study of Health Literacy of Older Persons, Bangkok Metropolis. Chulalongkorn University. Bangkok.

Kittinakbunchar, N. (2017). The Relation between Physical Competence, Environment, Social Participation and Mental Health of Older Thai People. Journal of Demography, 34(1), 1-40.

Ministry of Social Development and Human Security. 2010. The Act on the Elderly, B.E. 2546 (2010 A.D.). Retrieved May 4, 2020, from https://www.dop.go.th/ download/laws/regulation_th_20152509163042_1.pdf

Nakphu, T. (2014). Self-Reliance, Health Empowerment, Health Literacy and Happiness of the Elderly at Tambon Thap Yai Chiang in Amphoe Phrom Phiram, Phitsanulok Province. (Doctoral Dissertation). Kasetsart University. Bangkok.

National Statistical Office of Thailand. (2017). Information and Communication Technology Survey. Retrieved March 6, 2021, from http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-(ICT).aspx

Office of the National Economic and Social Development Board. (2021). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved March 6, 2021, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Sinchaiwanichakul, C. (2016). Factors Related to Healthy Aging among the Older Persons in Community-Dwelling of Bangkok Metropolitan. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 19(1), 100-109.

Taweerat, P. (1997). Research Methodology in Behavioral Sciences and Social Sciences. (7th ed.). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Thammapakorn Social Welfare Development Center for Older Persons at Chiang Mai. (2016). Elderly. Retrieved June 2, 2019, from http://thamapakorn.dop.go.th

World Health Organization (WHO). (1998). Health Literacy. Retrieved March 3, 2021, from https://www.who.int/healthpromotion/health-literacy/en/

Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.