พุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล

Main Article Content

วริทธิ์ตา จารุจินดา
ประยูร สุยะใจ
พระมหาเผื่อน กิตติโสภโณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบพุทธจิตวิทยาการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล 2) พัฒนารูปแบบพุทธจิตวิทยาเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล 3) ประเมินรูปแบบพุทธจิตวิทยาเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ Multiple Method Methodology ประกอบด้วย วิจัยเชิงคุณภาพ ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยกึ่งทดลอง


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันของโพธิปัญญาพยาบาล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หัวใจความกรุณา ใจตื่นรู้ ความหมายชีวิต การเข้าใจจิตวิญญาณ ผลวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบด้วย ค่าไคสแควร์ X2 = 366.771, df = 209, p = 0.50, GFI = 0.939, AGFI = 0.920, RMSEA = 0.0395 รูปแบบพุทธจิตวิทยาเสริมสร้างโพธิปัญญา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเริ่มตัน 2) ขั้นพัฒนาจิต 3) ขั้นพัฒนากิจ 4) ขั้น   ให้แนวทางดำเนินชีวิตด้วยมรรค แบ่งเป็น 13 กิจกรรมย่อย การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบเสริมสร้าง โพธิปัญญา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมโพธิปัญญา สูงกว่า กลุ่มควบคุม ทั้งในระยะหลังทดลอง ระยะติดตามผลหลังทดลอง 1 เดือน และระยะติดตามผลหลังทดลอง 2 เดือน ผลการประเมินมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ในการนำไปใช้ และมีประโยชน์ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สรุปได้ว่ารูปแบบมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

How to Cite
จารุจินดา ว., สุยะใจ ป. ., & กิตติโสภโณ พ. (2022). พุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างโพธิปัญญาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2361–2373. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/251689
บท
บทความวิจัย

References

Aukkarapridie, R., & Satraphat, D. (2017). Study on the Behavior of Patient Care with Compassion and Love and the Spirit of Creative and Happy Living According to the Perception of Trained and Non-Trained Personal in Clinical Pastoral Education, A Case Study of Saint Mary's Hospital.VRU Research and Development. Journal Humanities and Social Science, 12(1), 301-307.

Chawaphanth, S. (2021). Nurse and Their Spirit of the Second Mile Service During Covid19 Pandemic. Thai Journal of Nursing Council, 36(1), 5-17.

Frankl, V. E. (1967). Logotherapy and Existentialism. Psychotherapy: Theory, Research & Practice, 4(3), 138-142.

Grewnak, N. (2012). Qualitative Data Analysis Technic: QDAT Knowledge. (Doctoral Dissertasion). Teaching Materials SWU Prasanmit. Bangkok.

Jantaweemuang, V., Balthip, K., & Petchruschatachart, U. (2018). Effect of Contemplative Education Program on Spiritual Well-Being of Nursing Students. Journal of Siam University, 19(37), 84-102.

Lintattanasirikul, K. (2011). Using Multivariate Analysis of Variance in Educational Research. Techniques for Educational and Psychological Research, 1(1), 198-210.

L. A. & Perlman, D. (Eds), Peplau. (1990). Loneliness: A Sourcebook of Current Theory, Research and Therapy. New York: Wiley-Interscience.

McSherry, W., Draper, P., & Kendrick, D. (2002). The Construct Validity of a Rating Scale Designed to Assess Spirituality and Spiritual Care. International Journal of Nursing Studies, 39(7), 723-734.

Phra Paisal Visalo. (2000). Calm, Cool and Helpful. Bangkok: Nation Book.

Phrakhrũ Pimolpaññãnuyut (Bhuñtã Indapaññã). (2020). A Buddhist Psychological Process of Self-Development for Awakening. Mess, 16(2), 261-596.

Reawtaisong, P., & Supwirapakorn. W. (2017). The Effects of Logotherapy on Meaning in Life of the Elderly with Cancer. Journal of the Police Nurses, 9(1), 47-58.

Rinpoche, S. (2018) The Art of Living and Dying. Retrieved June 26, 2018, from http://www.visalo.org/article/Nation5901_2.html.

Saengsakorn, P. (2012).The Synthesis of Body of Knowledge Related to Spiritual Well-Being in the Context of Thai Society. Journal of Behavioral Science, 18(1), 84-94.

Siwarat, S. (2017). Life Quality Development with the Threefold Training. National Defence Studies Institute Journal, 8(1), 36-48.

Tongprateep, T. (2000). One Dimensional Spirit, Nursing. Thailand: V.Print Company.

Watcharasin, S. (2017). Buddhist Modes of Thinking for Meritorious Acceleration Developing the Quality of Life Amongst Professional Nurses. Journal of Graduate Studies, 13(3), 67-79.