การเคลื่อนไหวของเครือข่ายภาคประชาชนในการตอบโต้การละเมิดสิทธิ ของประชาชนโดยรัฐ: กรณีการสัมปทานเหมืองแร่ระเบิดหินอุตสาหกรรมในพื้นที่ป่าชุมชนพระพุทธบาทน้อย-เขาขมิ้น อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

นภาลัย ดอนวิจิตร
ศิวัช ศรีโภคางกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธวิธีและข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของเครือข่ายภาคประชาชน ในการตอบโต้การละเมิดสิทธิของประชาชนโดยรัฐ กรณีการสัมปทานเหมืองแร่ระเบิดหินอุตสาหกรรมในพื้นที่ป่าชุมชนพระพุทธบาทน้อย-เขาขมิ้น อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัย เชิงคุณภาพ ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ได้จัดเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้นำที่เป็นทางการ คณะกรรมการป่าชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ผลการวิจัยพบว่า 1) ยุทธวิธีที่นำมาใช้ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อตอบโต้การละเมิดสิทธิ ของประชาชนโดยรัฐ ดังนี้ 1) ยุทธวิธีการต่อสู้โดยใช้เรื่องความเชื่อทางสังคม วัฒนธรรม และจารีตประเพณี ยุทธวิธีการต่อสู้โดยใช้การมีส่วนร่วมของประชาชน ยุทธวิธีการต่อสู้ของภาคประชาชนโดยการใช้สื่อโซเชียลมีเดียกับสื่อสาธารณะ ยุทธวิธีต่อสู้ตามช่องทางระบบการเมืองปกติ และ 2) ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้การละเมิดสิทธิของประชาชนโดยรัฐ ได้แก่ ข้อจำกัดด้านอำนาจ หน้าที่ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ ที่เกี่ยวข้องกับการสัมปทานเหมืองแร่ ข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย ระเบียบ รวมถึงขั้นตอนการขอสัมปทาน ข้อจำกัดโดยตลาด ด้านสิทธิของพื้นที่ป่าชุมชนพระพุทธบาทน้อย-เขาขมิ้น และข้อจำกัดจากความชอบธรรมของรัฐ ส่งผลให้เครือข่ายภาคประชาชนต้องทบทวนยุทธวิธีเดิมและค้นหาแนวทางการคัดค้านการสัมปทานเหมืองแร่ระเบิดหินรูปแบบใหม่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Constitution Drafting Commission. ( 2 0 1 7 ) . Constitution of the Kingdom of Thailand, Retrieved March 20, 2021, from https://cdc.parliament.go.th/

Department of Mineral Resources Library. (1997). Environmental Impacts from Gypsum Mining. Retrieved March 20, 2021, from http://library.dmr.go.th/

Department of Primary Industries and Mines. (2017). Minerals Act, A.D.2017. Retrieved March 20, 2021 from http://www.dpim.go.th/

Fakpiem, P. (2020). Parrel World: A Case Study of Social Movement on Social Media Network in Thailand. Journal of Communication Arts of STOU, 10(1), 86-99.

Forest Department. (2014). Community Forest. Retrieved March 20, 2021, from https://www.forest.go.th/

Green Globe Institute. (2009). Award List of Green Globe Institute. Retrieved March 20, 2021, from https://www.greenglobeinstitute.com/

Inkaew, K., Sriyarun, S., Pintobtang, P., & Lapthananon, P. (2020). Dynamics of Environmental Movements in People's Politics. Ph.D. in Social Sciences Journal, 10(3), 585-602.

Montha, K., & Anuttaranggoon, R. (2020). The Group Against the Construction of a Pig Farm at Na Khom Subdistrict Phaisali District Nakhon Sawan Province. Journal of Social Sciences Mahamakut Buddhist University, 3(1), 69-81.

Pharcharuen, W., & Nuntacharuksa, R. (2020). The Citizen’s Societal Protest Movement to Recover Doisuthep Forest. Journal of Graduate MCU Khon Kaen Campus, 7(1), 45-62.

Pharcharuen, W. (2018). The People’s Movement on their resistant to Solid Waste Disposal Plant in Baan Pa Tung Noi, Pa Da Subdistrict, Doi Saket District, Chiangmai Province. Journal of MCU Peace Studies, 6(2), 432-444.

Phalusuk, P., & Akkasang, A. (2019). The Impact of the Forest with the Villagers in the Northeastern: A Case Study of Sakon Nakhon Province. Governance Journal, 8(2), 186-202.

Thanachaiwuttiphong, K., & Rakkhumsuk, E. (2017). Cancelltion of Concession of Chatree Gold Mining by Council for Peace and Order. Journal Social Sciences MCU, 6(2), 1041-1050.

Thongyou, M. (2014). Concepts of Sociological Theory of Social Movements. (1st ed.). KhonKaen: Khon Kaen University.