รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยา พฤติกรรมการตัดสินใจเที่ยวและแรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ที่คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยาพฤติกรรมการตัดสินใจเที่ยวและแรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในแหล่งท่องเที่ยวศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 637 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้าเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.482-0.719 และมีความเที่ยงแต่ละตอนอยู่ระหว่าง 0.932-0.953 วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยา พฤติกรรมการตัดสินใจเที่ยวและแรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในแหล่งท่องเที่ยวศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด อำเภอบ้านดุงจังหวัดอุดรธานีมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ดังนี้ , p-value=0.016 RMSEA=0.028 RMR= 0.0081 NFI=1 NNFI=1 GFI=0.99 AGFI=0.96 โดยตัวแปรอิสระทั้งหมด ร่วมกัน
อธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ ร้อยละ 81ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงที่สุดต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คือ แรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ พฤติกรรมการตัดสินใจเที่ยว โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ0.52 และ 0.42 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านจิตวิทยามีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยขนาดอิทธิพล 0.89
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Akangkun, S. (2005). Tourist Behaviour. (2nd ed.). Konkaen: KlungnanaVitthaya Press.
Awatchanakan, P. (2015). Marketing factors and sustainable tourist behavior in the area of Laplae Uttaradit Province. (Master’s Thesis) . Faculty of Commerce and Accountancy Thammasat University. Bangkok.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Chatchawalpanich, K., & Saomuang, S. (2015). The Decision-Making Models for the Ecotourism of Thai Tourists in Thailand. EAU Heritage Journal Social Science and Humanity, 5(1), 210-222.
Chiangkwangkun, K. (2017). Kham Chanot encountered severe problems, tourists littering inside and outside the area, staff urged to solve. Retrieved May 25, 2020, from https://www.thairath.co.th/news/local/861240.
Department of Tourism, (2017). Tourism Situation in Thailand. Available Annual Report 2017. Retrieved May 20, 2020, from https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.
Jinjantarawong, M. (2006). Lifestyle and Behavior in land Ecotourism of Tourists Target Group. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.
Komil, I. (2010). Eco-Tourism- A Case Study of Bann Wand Nam Mok, Nongkhai Province (Research Report). Bangkok: Department of Cultural Promotion.
Kwanmuang et al. (2009). Tourist Behaviour. Retrieved May 17, 2020, from https://tourismatbuu.wordpress.com.
Meetavornkul, S. (2002). Service Psychology and Tourist Behaviourin Tourism Resource Management, Unit 1-8. Nonthaburi: Sukhothaithammathirat Open University Press.
Niamnapa, C. (2014). Landscape Conservation and Development Guidelines for Kham-Chanot, Amphoe Ban Dung,ChangwatUdon Thani. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Sangchoey, T. (2007). Tourism and Hospitality Industry. NakhonPathom: Silpakorn University.
Sirarungrotkanok, P. (2016). Behavior and Satisfaction of Thai Tourists in Tourism Logistics management: A Case Study of Amphawa Floating Market, Samut Songkhram Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chon Buri.
Suksawang, P. (2017). Structural Equation Modeling. (2nd ed.) Chonburi: A.P. Blueprint.
ThaiPBS, (2019). Conflict of Interest at Kam Chanot, Udon Thani Province. Retrieved May 25, 2020, from https://news.thaipbs.or.th/content/271751.
Tiangkamol, N. K. (2016). Theory development with Lisrel Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Wanitwetphibun, D. (2017). Factors Influencing Thai Tourists Deciding to Buy a Tour to China. (Master’s Thesis) . Business Administration, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University. Bangkok.