ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

Main Article Content

มนตร์ธัช ยานันท์บุญสิริ
พิณสุดา สิริธรังศรี
อุทัย บุญประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด 2. เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง 2) วัดปัญญานันทาราม
3) วัดอัมพวัน 4) วัดร่องหวาย 5) วัดคลองตาลอง 6) วัดชายนา ด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เจ้าสำนัก พระวิปัสสนาจารย์ และผู้ปฏิบัติธรรม แล้ววิเคราะห์ สร้าง เสนอยุทธศาสตร์ และนำเสนอผลการวิจัยเป็นเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด คือ 1) มีโครงสร้างการบริหารชัดเจน แต่มีปัญหาขาดการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ 2) การบริหารบุคลากร เจ้าสำนักและพระวิปัสสนาจารย์มีความรู้ความสามารถ มีปัญหาขาดระบบคัดสรรบุคลากร 3) การบริหารงานวิชาการ มีหลักสูตรและแนวทางการสอนตามหลักสติปัฏฐาน 4 มีปัญหาขาดการเชื่อมโยงกับสำนักปฏิบัติธรรมอื่น 4) การบริหารงบประมาณ มีการจัดตั้งกองทุนปฏิบัติธรรม มีปัญหาขาดการกำกับติดตามและประเมินผลการใช้จ่าย และ 5) การบริหารงานทั่วไป มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ แต่มีปัญหาขาดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ 2. เสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
มี 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) จัดโครงสร้างและพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) ส่งเสริมศักยภาพพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล3) พัฒนาหลักสูตรการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน 4) พัฒนาระบบการบริหารจัดการงบประมาณและการบริจาคของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ 5) เพิ่มศักยภาพการบริหารงานทั่วไปของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล

Article Details

How to Cite
ยานันท์บุญสิริ ม., สิริธรังศรี พ. ., & บุญประเสริฐ อ. (2022). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2384–2396. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/251281
บท
บทความวิจัย

References

Henri, F. (2004). Human Resource Management, in a Business Context. (2nd ed.). London:

Thomson Leaming.

Meachi Nerashar Saksirisampant. (2013). The Buddhist Administrative Method for the Development of the Monastery Meditation Centers. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakrubhawanarattanaporn (Kamphol Siribhaddo). (2016). The Development of the Potentiality of Sangha Administrators Meditation Center Management in Ayutthaya Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakhru Wijitrdhammawiphat (Boonlerd Paññavudho). (2018). Meditation Practice Promotion Development of Meditation Centers in Prachuap Khirikhan Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phramaha Kangwal Dhiradhamma (Sornchai). (2015). Efficiency Development on Management of the Provincial. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakhru Visutthanantakun (Surasak Visuddhacaro). (2014). Monastery Administration for Buddhism Stability. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Satiman, U. (2012). The Development of the Knowledge Management Model for the Meditation Centers in Thailand. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Wongsarnsee, Y. (2005). Organization and Management. (8th ed). Bangkok: Supa Printing.

Wongsa-nguan, J. (2014). A Study of Spatial Environment of Dharma Retreat Center in Supporting Dharma Activities: Case Studies of Dharma Retreat Centers in Wat Pathum Wanaram and Wat Mahathat Yuwaratrangsarit. (Master’s Thesis). Thammasat University. Pathum Thani