พระสงฆ์กับอิหม่าม: เพื่อนรักข้ามศาสนาเพื่อสันติภาพ

Main Article Content

พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
โคทม อารียา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาวิธีการ และกิจกรรมที่ผู้นำศาสนาสามารถนำมาใช้เพื่อถักทอความสัมพันธ์ภายในชุมชนศาสนาของตนและระหว่างชุมชนชาวพุทธกับชาวมุสลิม 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนศาสนาสองชุมชนหลักของพื้นที่ชายแดนใต้ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาวะระหว่างชุมชนต่างศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุสงฆ์จำนวน 15 รูป และผู้นำศาสนาอิสลามจำนวน 15 คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจัดกระบวนการสานเสวนา 1 ครั้ง และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เขียนรายงานผลวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาความ


          ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีการฟื้นฟูให้ความสัมพันธ์ที่ดีกลับคืนมา คือ การสร้างกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมที่ทั้งสองฝ่ายสามารถทำร่วมกันได้และไม่ขัดกับหลักการของศาสนา เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ 2. อุปสรรคของการฟื้นฟูถักทอความสัมพันธ์เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เคยอยู่ร่วมกันด้วยดีมาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ คือ ความท้าทายในการก้าวข้ามประสบการณ์เจ็บปวดจากความรุนแรงถึงตายมา โดยเฉพาะในบริบทที่ความรุนแรงยังคงดำเนินอยู่และไม่มีใครรับประกันได้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นกับผู้นำทางศาสนาที่แต่ละฝ่ายให้ความเคารพนับถืออีก 3. การฟื้นฟูความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้นำศาสนาในรูปแบบ “เพื่อนรัก” กัน เป็นหนทางและวิธีการที่จะช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างพุทธ-มุสลิมในวงที่กว้างขึ้น เพื่อการก้าวข้ามขีดแบ่ง ทำให้ความสัมพันธ์ที่เปราะบางแข็งแรงขึ้น และสามารถหนุนเสริมการสร้างสันติภาพในระดับชุมชนสองวัฒนธรรมได้นั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย เป็นต้น นโยบายส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรม นโยบายการสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้ผู้นำศาสนาทุกฝ่าย นโยบายทางสาธารณสุขด้านการแพทย์และสุขภาพเพื่อสันติภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Phramaha Analayo Maion. (2017). Buddhist Network for Peace: Movement of Peace Building Process in Three Southern Border Provinces. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Jory, P. (2007). From 'Melayu Patani' to 'Thai Muslim': The Spectre of Ethnic Identity in Southern Thailand. Asia Research Institute Working Paper, 84, 1-27.

Khuankaew, O. et al. (2019). To Be Process Facilitator in a Project: Project on the Development of Learning Facilitator on Social Justice. Workshop Training Report, (unpublished).

Ojo A. M., & Lateju, T. F. (2010). Christian–Muslim Conflicts and Interfaith Bridge‐Building Efforts in Nigeria. The Review of Faith & International Affairs, 8(1), 31-38.

Narkurairattana, P. (2018a). Playing Roles as Insiders to Reflect Different Perspectives on the Case of “Hijab Pattani”. Rusamilae, 39(2), 21-32.

Narkurairattana, P. (2018b). Conflict Narratives and Possible Cooperation Among Six Categories of Persons in Deep South: Case of Religious Leaders. (unpublished).

Phaitrakoon, J., & Chulakarn, N. (2016). Cultural Understanding of Health in Thai Elderly Muslims. Princess of Naradhivas University Journal, 8(2), 142-152.

Piereder, Jinelle. (2014). The Imam and the Pastor: Attempts at Peace in Nigeria using Interfaith Dialogue. Laurier Undergraduate Journal of the Arts 1, 71-85.

Rodriguez-Garcia et al. (2001). How Can Health Serve as a Bridge for Peace?, C E R T IC E R T I Crisis and Transition Tool Kit. DC.: The George Wasington University, USAID.

Suphunchitwana,P. (2018). The Unfamiliarity and the Resistance against Mosques Construction in Northern Areas of Thailand. Songklanakarin: Journal of Social Sciences and Humanities, 34(2), 3-33.

ThaiPBS. (2019). The Killing of 21 Buddhist Monks in Violent Conflict in Southern Border Provinces. Retrived December 3, 2020, from https://news.thaipbs.or.th/content/277126.

The Momentum. (2018). The Ban of Hijab Wearing at Pattani Kindergarten School: Some Thoughts Amid Sensitive Situation. Retrieved June 20, 2018, from https://themomentum.co/hijab-ban-in-pattani/.

The National Reconciliation Commission (NRC). (2006). Report of the National Reconciliation Commission (NRC): Overcoming Violence Through the Power of Reconciliation. Bangkok: The National Reconciliation Commission (NRC).

Tepsing, P., Laeheem, K., & Azizsakul, H. (2020) Conditions Enhancing the Role of Buddhist Monks and Islamic Religious Leaders to Strengthen the Relationship between Muslims and Buddhists in the Three Southern Border Provinces. Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University, 28(2), 164-190.

Tuansiri,E., & Koma, A. (2019). The Fragile Relationships between Buddhists and Muslims in Thai Society. Journal of Islamic Studies, 10(2), 14-26.

WHO. (1981). Health as Bridge for Peace (HBP). World Health Assembly, Resolution 34.38, 1981. Retrieved September 19, 2019, from https://www.who.int/hac/techguidance/hbp/en/

Wongtani, C. (2018). The Ban of Hijab Wearing at Pattani Kindergarten School: Some Thoughts Amid Sensitive Situation. Retrieved June 20, 2018, from https://themomentum.co/hijab-ban-in-pattani/.